สืบ สาน เส้นไหม “นำฮอยอีแม่”
แนวปฎิบัติที่ดี ด้านวัฒนธรรม
สืบ สาน เส้นไหม “นำฮอยอีแม่”
ผู้ศึกษา
นางดวงจันทร์ นิตยาชิต
นางสาวจุฑามาศ ศรีภิรมย์
นางสาวปริยากร มาลาศรี
สถานศึกษา
โรงเรียนบ้านโนนสะอาดห้วยตะกั่ววิทยา
อำเภอหนองสองห้อง จังหวัดขอนแก่น
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต ๓
บทคัดย่อ
โรงเรียนบ้านโนนสะอาดห้วยตะกั่ววิทยา มีชุมชนเขตบริการของโรงเรียน อยู่ ๒ ชุมชน คือชุมชนบ้านโนนสะอาดและชุมชนบ้านห้วยตะกั่ว ชุมชนเป็นชุมชนขนาดเล็ก ในอดีตชุมชนมีอาชีพ ทอผ้าเลี้ยงไหม มีภูมิปัญญาท้องถิ่น ในการท้อผ้าไหมสไบ โดยคนในชุมชนมีวัฒนธรรมอันดีงามในการร่วมด้วยช่วยกันคนละไม้คนละมือในการทอผ้าไหมสไบ เป็นเอกลักษณ์เฉพาะชุมชนที่เต็มไปด้วยรอยยิ้มของท้องถิ่น ในปัจจุบันการทอผ้าไหมสไบ นับวันจะสูญหายไป คนรุ่นใหม่ไม่นิยมใช้ผ้าไหมแต่หันไปใช้ผ้าสังเคราะห์แทน
โรงเรียนบ้านโนนสะอาดห้วยตะกั่ววิทยาเล็งเห็นถึงความสำคัญของภูมิปัญญาท้องถิ่นและวัฒนธรรมประเพณี ไม่ให้ถูกละเลยหรือถูกทำลายไปพร้อมๆ กับการสืบสานและพัฒนา โรงเรียนบ้านโนนสะอาดห้วยตะกั่ววิทยาจึงได้ทำกิจกรรม สืบ สาน เส้นไหม “นำฮอยอีแม่” ขึ้น
ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา
“…นอกจากการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติแล้ว ยังสอนให้อนุรักษ์วัฒนธรรมเพราะเป็นสิ่งที่เป็นรากฐานชีวิตของทุกคน เมื่อรู้ว่าท้องถิ่นของตนมีอะไรบ้าง ก็จะทำให้เกิดความภาคภูมิใจ มีการบันทึกสิ่งที่เป็นของมีค่าที่เป็นความคิดของมนุษย์ เป็นจิตวิญญาณของบุคคล ให้ร่วมกันทำงานอนุรักษ์พร้อมๆ กับงานพัฒนาชุมชน…” (จากหนังสือ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงบรรยายเรื่อง การพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร)
จากพระราชดำรัส ของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี และแผนพัฒนาเด็กเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร ตามพระราชดำริในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี ฉบับที่ ๔ พ.ศ.๒๕๕๐ – ๒๕๕๙ โดยมีวัตถุประสงค์ข้อที่ ๕ ปลูกฝังจิตสำนึกและพัฒนาศักยภาพของเด็กและเยาวชนในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โรงเรียนบ้านโนนสะอาดห้วยตะกั่ววิทยาจึง ได้จัดทำหลักสูตร สืบ สาน เส้นไหม “นำฮอยอีแม่” ลงในหลักสูตรแกนกลางของโรงเรียน เพื่อให้ผู้สอนนำไปสอนผู้เรียนในวิชาชุมนุม ชุมนุมหม่อนไหม โดยมีการลงพื่นที่จริงในชุมชน เพื่อรับการถ่ายทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นจากปราชญ์ชุมชน และซึมซับวัฒนธรรมอันดีงาม ในการเลี้ยงหนอนไหมและท้อผ้าไหมสไบ เพื่อให้ผู้เรียน เกิดจิตสำนึก รูจักรักษาวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณีที่ดีงาม และวิถีชีวิตที่เปนเอกลักษณของทองถิ่นไวปองกันไมใหสิ่งที่ดีงามเหลานี้ถูกละเลยหรือถูกทำลายไปพรอมๆ กับการพัฒนา และที่สำคัญคือจะนำมาซึ่งความภาคภูมิใจในอาชีพของ แม่
วัตถุประสงค์
๑.เพื่อสืบทอดวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น ในการทอผ้าไหมสใบที่เปนเอกลักษณเฉพาะของชุมชน
๒.เพื่อให้ผู้เรียนมีความภูมิใจ เห็นคุณค่า ในมรดกทางวัฒนธรรมและภูมิปัญญาของท้องถิ่นในการทอผ้าไหมสไบที่เปนเอกลักษณเฉพาะของชุมชน
เป้าหมาย
เชิงปริมาณ
ผู้เรียน เด็ก เยาวชน ชุมชน บ้านโนนสะอาดและบ้านห้วยตะกั่ว
เชิงคุณภาพ
ผู้เรียนในโรงเรียนบ้านโนนสะอาด มีความรู้ มีความภูมิใจ เห็นคุณค่า ในมรดกทางวัฒนธรรมและภูมิปัญญาของท้องถิ่นในการ ทอผ้าไหมสไบที่เปนเอกลักษณเฉพาะของชุมชน
๑.ครู ชุมชนและผู้เรียนประชุมร่วมกันเกี่ยวกับปัญหา วัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น ในการทอผ้าไหมสไบที่เปนเอกลักษณเฉพาะของชุมชน กำลังจะสูญหายไป เพื่อหาข้อสรุปของปัญหาและแนวทางแก้ไข
๒.ครูทำการศึกษา ค้นคว้าข้อมูลทางวิชาการเพิ่มเติมจากแหล่งต่างๆ ปราชญ์ท้องถิ่น เกี่ยวกับการสืบทอดวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น ในการทอผ้าไหมสไบที่เปนเอกลักษณเฉพาะของชุมชน
๓.ครูจัดกิจกรรมให้ความรู้ เรื่องประโยชน์ การสืบทอดวัฒนธรรมท้องถิ่น ขั้นตอนการเลี้ยงหนอนไหมและขั้นตอนการทอผ้าไหมสไบแก่ผู้เรียน
๔.ครู ผู้เรียนและปราชญ์ชาวบ้าน ร่วมฝึกปฎิบัติ การทอผ้าไหมสไบ เริ่มตั้นแต่การเลี้ยงหนอนไหม การสาวเส้นไหม การย้อมสีเส้นไหม การมัดหมี่ การทอผ้าไหมสไบ ตามหลักสูตร สืบ สาน เส้นไหม “นำฮอยอีแม่” โดยได้ฝึกปฎิบัติจริงในชุมชนจากปราชญ์ชาวบ้าน ในชั่วโมงชุมนุม
๕.ครูและผู้เรียน เลี้ยงหนอนไหม ในโรงเลี้ยงหนอนไหมของการศึกษานอกระบบและตามอัธยาศัยตำบลดอนดู่ นำเส้นไหมที่ได้ มามัดหมีแล้วทอผ้าไหมสไบในกี่ทอผ้าของโรงเรียน
๗.ครูและผู้เรียนสรุปองค์ความรู้ร่วมกัน
๘.ครูติดตามผลการขยายผลโดยวิธีเก็บข้อมูลและบันทึกผล
๘.๑ ติดตามผลผู้เรียนในการช่วยแม่เลี้ยงหนอนไหมและทอผ้าไหมสไบที่บ้าน
๘.๒ นำผ้าไหมสไบผลงานผู้เรียนไปฝากขายที่สหกรณ์นักเรียน และชุมชน
๙.ครูสรุปรายงานผลการดำเนินกิจกรรมเสนอต้นสังกัด
๑.ผู้เรียนมีจิตสำนึกในการสืบทอดวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น
๒.ผู้เรียนมีความภูมิใจ เห็นคุณค่าในมรดกทางวัฒนธรรมและภูมิปัญญาของท้องถิ่น
๓.ผู้เรียนมีความรู้และทักษะในการ เลี้ยงหนอนไหมและทอผ้าไหมสไบ
๔.ชุมชนตื่นตัวในการอนุรักษ์รักษาวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณีที่ดีงาม และวิถีชีวิตที่เปนเอกลักษณของทองถิ่นไวปองกันไมใหสิ่งที่ดีงามเหลานี้ถูกละเลยหรือถูกทำลายไป
๕.ผู้เรียนภาคภูมิใจในอาชีพของ แม่
ปัญหาอุปสรรคและวิธีการแก้ไข
ปัญหาอุปสรรค = ผู้เรียนกลัวตัวหนอนไหม
วิธีการแก้ไข = ให้ผู้เรียนได้ฝึกประฎิบัติกับหนอนไหมเป็นประจำเพื่อให้เกิดความเคยชิน
-จัดทำเป็นเอกสารแผ่นพับเผยแพร่
-เผยแพร่ผลงานให้กับเพื่อนครูในศูนย์เดียวกัน
-จัดทำเอกสารสรุปรายงานเสนอต้นสังกัด
เผยแพร่วิธีการไปยังโรงเรียนในเขตการศึกษาเดียวกัน
โครงการสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี,สำนักงาน.แผนพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดารตามพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี ฉบับบที่ ๔ พ.ศ.๒๕๕๐-๒๕๕๙.กรุงเทพฯ:อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด(มหาชน).๒๕๕๑.