หนูน้อยสุขภาพดี
๑. บทคัดย่อ
การดูแลรักษาสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง สำหรับนักเรียนชั้นอนุบาลมีความสำคัญอย่างยิ่ง เพราะจะส่งผลต่อการพัฒนาการของนักเรียนทั้งทางด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์และจิตใจ ตลอดจนทางด้านสังคม การจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมให้นักเรียนมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง อารมณ์ดี และร่าเริงแจ่มใสนั้น จำเป็นต้องอาศัยกิจกรรมต่าง ๆ การเลือกรับประทานอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการก็เป็นส่วนหนึ่งที่จะช่วยส่งเสริมให้นักเรียนมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงและเสริมสร้างสติปัญญาของนักเรียนให้มีความเฉลียวฉลาด นอกจากนี้การรับประทานอาหารเช้าที่มีคุณค่า ยังส่งผลให้นักเรียนมีความพร้อมและมีประสิทธิภาพทางด้านการเรียน ตลอดจนทำให้นักเรียนมีพัฒนาการในด้านต่าง ๆ ที่ดีขึ้น นอกจากนี้ทำให้นักเรียนมีน้ำหนักและส่วนสูงตามเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดด้วย
จากการดำเนินโครงการดังกล่าวพบว่านักเรียนส่วนใหญ่มีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง รู้จักการดูแลรักษาสุขภาพของตนเอง รู้จักวิธีการล้างมือให้สะอาด การดูแลช่องปากของตนเองโดยการแปรงฟัน การจัดอาหารเสริมนม การรับประทานอาหารเช้าและอาหารกลางวันที่มีประโยชน์ จะทำให้นักเรียนมีพัฒนาการในด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์และจิตใจ และสังคมดีขึ้น พร้อมที่จะเรียนในระดับที่สูงต่อไป
๒. ความสำคัญ
โรงเรียนบ้านบางมะนาว เป็นพื้นที่หมู่บ้านชาวประมง ซึ่งผู้ปกครองนักเรียนส่วนใหญ่มีฐานะยากจน ไม่มีความรู้และขาดโอกาสทางด้านการศึกษา ทำให้นักเรียนส่วนใหญ่มีสุขภาพพลานามัยที่ไม่แข็งแรง โดยเฉพาะในเรื่องการดูแลรักษาสุขภาพพลานามัยของตนเอง การเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์และมีคุณค่าทางโภชนาการ ทำให้นักเรียนบางคนมีน้ำหนักและส่วนสูงต่ำกว่าเกณฑ์ที่มาตรฐานกำหนด
ทางโรงเรียนจึงมีนโยบายให้นักเรียนชั้นอนุบาล ซึ่งเป็นนักเรียนในระดับชั้นที่จะต้องเตรียมความพร้อม
ในการเรียนระดับประถมศึกษาได้มีการพัฒนาการตามวัยทั้ง ๔ ด้านคือ ด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์และจิตใจ และสังคม เพื่อให้นักเรียนได้อยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข ทั้งนี้โดยเน้นให้นักเรียนทุกคนได้รับประทานอาหารเสริมนม อาหารเช้าและอาหารกลางวันที่มีประโยชน์ ตลอดจนมีการตรวจสุขภาพร่างกาย ช่องปาก การแปรงฟัน เพื่อส่งผลให้นักเรียนมีประสิทธิภาพทางการเรียนในระดับชั้นที่สูงต่อไป
๓. จุดประสงค์/เป้าหมายของการดำเนินงาน
๓.๑ เพื่อให้นักเรียนมีสุขภาพพลานามัยที่แข็งแรงปราศจากโรค
๓.๒ เพื่อให้นักเรียนมีนิสัยร่าเริงแจ่มใส และมีน้ำหนักส่วนสูงตามเกณฑ์มาตรฐานของกระทรวง
สาธารณสุข
๓.๓ เพื่อให้นักเรียนมีความรับผิดชอบต่อตนเองและมีพัฒนาการตามวัยในทุก ๆ ด้าน
๔. กระบวนการหรือขั้นตอนการดำเนินงาน
โครงการหนูน้อยสุขภาพดี
Input (ปัจจัยพื้นฐาน)
๑. นักเรียนมีความรู้เกี่ยวกับการดูแลรักษาสุขภาพของตนเอง
๒. นักเรียนรู้จักเลือกรับประทานอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการ
๓. นักเรียนรู้จักการออกกำลังกาย
กิจกรรม
๑. วิธีการล้างมือ
๒. กิจกรรมการแปรงฟั
๓. กิจกรรมการหยอดโปลิโอ
๔. กิจกรรมการตรวจสุขภาพร่างกาย
๕. การจัดอาหารเสริมนม
๖. การจัดอาหารเช้าและอาหารกลางวัน
๗. กิจกรรมการออกกำลังกาย/การเคลื่อนไหวตามจังหวะ
๘. การชั่งน้ำหนัก/วัดส่วนสูง
๙. การทดสอบสมรรถภาพ
ผลลัพธ์ที่ได้จากการดำเนินงาน
๑. นักเรียนชั้นอนุบาลมีสุขภาพพลานามัยที่แข็งแรง
๒. นักเรียนรู้จักการดูแลรักษาสุขภาพร่างกายและสุขภาพจิต
๕. ผลการดำเนินการ/ผลสัมฤทธิ์/ประโยชน์ที่ได้รับ
๑. นักเรียนมีสุขภาพพลานามัยที่แข็งแรงปราศจากโรค
๒. นักเรียนมีน้ำหนักและส่วนสูงตามเกณฑ์มาตรฐานของกระทรวงสาธารณสุข
๓. นักเรียนมีความรับผิดชอบต่อตนเองและมีพัฒนาการตามวัยในทุก ๆ ด้าน
๖. ปัจจัยความสำเร็จ
จากการดำเนินโครงการหนูน้อยสุขภาพดี ได้รับความร่วมมือจากผู้บริหารโรงเรียน คณะครูในโรงเรียน และหน่วยงานต่าง ๆ ในชุมชน เช่น
๑. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกะลุวอเหนือ
๒. สำนักงานเทศบาลตำบลกะลุวอเหนือ
๓. กลุ่ม อสม.
๗. การเผยแพร่
๑. การจัดป้ายนิเทศตามอาคารเรียน
๒. การจัดนิทรรศการเกี่ยวกับหนูน้อยสุขภาพดี
๘. ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ
นักเรียนส่วนใหญ่มีฐานะยากจนและอาศัยอยู่กับตายาย เนื่องจากพ่อแม่ไปทำงานประเทศมาเลเซีย นอกจากนี้บางครอบครัวยังมีปัญหาในเรื่องพ่อแม่แยกทางกัน ส่งผลให้นักเรียนมีปัญหาทางด้านการเรียน นักเรียนขาดความรับผิดชอบในการมาเรียนและขาดเรียนบ่อย ขาดคนดูแลเอาใจใส่ในด้านการเรียน นอกจากนี้ผู้ปกครองนักเรียนขาดความรู้ในเรื่องการดูแลรักษาสุขภาพพลานามัยที่ดี ทำให้นักเรียนรับประทานอาหารที่ไม่มีประโยชน์และไม่มีคุณค่าทางโภชนาการ ส่งผลให้นักเรียนมีภาวะทุพโภชนาการต่ำ