โรงเรียนบ้านเขาส่องกล้อง สพป.นครนายก กุ้งก้ามแดงสู่การเรียนรู้แบบบูรณาการโดยใช้โครงงานเป็นฐาน
ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา
พระราชดำรัสที่จะทรงช่วยพัฒนาเด็กและเยาวชนให้มีศักยภาพที่จะเรียนรู้ให้ประสบผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น โรงเรียนบ้านเขาส่องกล้องมีกิจกรรมที่พัฒนาซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมในโครงการตามพระราชดำริของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ตั้งแต่ปี 2003 กิจกรรมโครงการพระราชดำริเป็นส่วนหนึ่งของการจัดการเรียนการสอนในหลักสูตรของโรงเรียนที่บูรณาการ 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ วิชาเพิ่มเติมและกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
กิจกรรมโครงการตามพระราชดำริของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ จัดการเรียนการสอนที่ใช้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางและการศึกษาจะเป็นเครื่องมือในการพัฒนาการเรียนการสอนที่เรียกว่า Learning by doing โดยการใช้วิธีการบูรณาการการเรียนการสอนโดยครูผู้สอนและการมีส่วนร่วมและสนับสนุนของชุมชน กิจกรรมดังกล่าวประกอบด้วย กิจกรรมส่งเสริมการศึกษา กิจกรรมเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน กิจกรรมประกอบเลี้ยงอาหารกลางวัน กิจกรรมอนามัยนักเรียน กิจกรรมสหกรณ์นักเรียน กิจกรรมอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และกิจกรรมอนุรักษ์และสืบทอดวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น ผู้ปกครองและชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาและกิจกรรมต่าง ๆ ของโรงเรียน ซึ่งความรู้เหล่านี้จะถูกส่งต่อไปยังครอบครัวและชุมชนต่อไป
การพัฒนาคุณภาพการศึกษาที่ผ่านมา พบว่าเด็กและเยาวชนยังไม่ได้รับการพัฒนาอย่างเต็มศักยภาพ ทั้งนี้เนื่องมาจากปัจจัยหลาย ๆ ด้าน ทั้งจำนวนครูที่ไม่เพียงพอกับจำนวนนักเรียน ข้อจำกัดในเรื่องความรู้ความสามารถของครู วิธีการเรียนการสอน อุปกรณ์และสื่อการเรียนการสอน ผู้ปกครองมีการศึกษาอยู่ในเกณฑ์ที่ไม่สูงมากนัก เหล่านี้ล้วนเป็นอุปสรรคสำคัญยิ่ง
ทางโรงเรียนบ้านเขาส่องกล้อง จึงดำเนินการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนเรื่องกุ้งก้ามแดงสู่การเรียนรู้แบบบูรณาการโดยใช้โครงงานเป็นฐาน (Project based Learning) เพื่อฝึกปฏิบัตินักเรียนได้ทำโครงงานเพื่อศึกษาวิจัยถึงการเจริญเติบโตของกุ้งก้ามแดงโดยบูรณาการ 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้และต่อยอดสร้างองค์ความรู้ไปสู่ความเป็นมืออาชีพในอนาคต สามารถนำไปประกอบอาชีพและสร้างรายได้ให้กับตนเองได้
วัตถุประสงค์
1.เพื่อเสริมสร้างศักยภาพของเด็กและเยาวชนในการเรียนรู้ทางวิชาการ
2.เพื่อบูรณาการกิจกรรมโครงการพระราชดำริกับกิจกรรมการจัดการเรียนการสอนแบบโครงงานบูรณาการ 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้
เป้าหมาย
เชิงปริมาณ
เด็กและเยาวชน โรงเรียนบ้านเขาส่องกล้อง จำนวน 265 คน
เชิงคุณภาพ
เด็กและเยาวชน โรงเรียนบ้านเขาส่องกล้อง มีความรู้และทักษะที่จำเป็นและสามารถ
บูรณาการกิจกรรมโครงการพระราชดำริกับกิจกรรมการจัดการเรียนการสอนแบบโครงงานบูรณาการ 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพเกิดประสิทธิผล
กระบวนการดำเนินงาน
การบริหารจัดการศึกษาของโรงเรียนบ้านเขาส่องกล้อง ใช้ระบบ “BSK Model” โดยมุ่งหวังให้เกิดประโยชน์กับผู้เรียนสูงสุด ดังนี้
การจัดการเรียนรู้แบบใช้โครงงานเป็นฐาน หมายถึง การจัดการเรียนรู้ที่มีครูเป็นผู้กระตุ้นเพื่อนำความสนใจที่เกิดจากตัวนักเรียนมาใช้ในการทำกิจกรรมค้นคว้าหาความรู้ด้วยตัวนักเรียนเอง นำไปสู่การเพิ่มความรู้ที่ได้จากการลงมือปฏิบัติ การฟังและการสังเกตุจากผู้เชี่ยวชาญ โดยนักเรียนมีการเรียนรู้ผ่านกระบวนการทำงานเป็นกลุ่ม ที่จะนำมาสู่การสรุปความรู้ใหม่ มีการเขียนกระบวนการจัดทำโครงงานและได้ผลการจัดกิจกรรมเป็นผลงานแบบรูปธรรม (ดุษฎี โยเหลาและคณะ, 2557: 19-20)
ลักษณะเด่น
การเรียนรู้แบบโครงงาน เป็นอีกรูปแบบหนึ่งที่มีผู้ให้ความสนใจมากในปัจจุบัน McDonell (2007) ได้กล่าวว่า การเรียนรู้แบบโครงงานเป็นรูปแบบหนึ่งของ Child- centered Approach ที่เปิดโอกาสให้นักเรียนได้ทำงานตามระดับทักษะที่ตนเองมีอยู่ เป็นเรื่องที่สนใจและรู้สึกสบายใจที่จะทำ นักเรียนได้รับสิทธิในการเลือกว่าจะตั้งคำถามอะไร และต้องการผลผลิตอะไรจากการทำงานชิ้นนี้ โดยครูทำหน้าที่เป็นผู้สนับสนุนอุปกรณ์และจัดประสบการณ์ให้แก่นักเรียน สนับสนุนการแก้ไขปัญหา และสร้างแรงจูงใจให้แก่นักเรียน โดยลักษณะของการเรียนรู้แบบโครงงาน มีดังนี้
• นักเรียนกำหนดการเรียนรู้ของตนเอง
• เชื่อมโยงกับชีวิตจริง สิ่งแวดล้อมจริง
• มีฐานจากการวิจัย หรือ องค์ความรู้ที่เคยมี
• ใช้แหล่งข้อมูล หลายแหล่ง
• ฝังตรึงด้วยความรู้และทักษะบางอย่าง (embedded with knowledge and skills)
• ใช้เวลามากพอในการสร้างผลงาน
• มีผลผลิต
แนวคิดสำคัญ
การเรียนรู้แบบโครงงานนั้น มีแนวคิดสอดคล้องกับ John Dewey เรื่อง “learning by doing” ซึ่งได้กล่าวว่า “Education is a process of living and not a preparation for future living.” (Dewey John, 1897: 79 cite in DouladeliEfstratia, 2014) ซึ่งเป็นการเน้นการจัดการเรียนรู้ที่ให้นักเรียนได้รับประสบการณ์ชีวิตขณะที่เรียน เพื่อให้นักเรียนได้พัฒนาทักษะต่างๆ ซึ่งสอดคล้องกับหลักพัฒนาการคิดของ Bloom ทั้ง 6 ขั้น คือ ความรู้ความจำ (Remembering) ความเข้าใจ (understanding) การประยุกต์ใช้ (Applying) การวิเคราะห์ (Analyzing) การประเมินค่า (Evaluating) และ การคิดสร้างสรรค์ (Creating) ซึ่งการจัดการเรียนรู้แบบใช้โครงงานเป็นฐาน นั้นจึงเป็นเป็นอีกรูปแบบหนึ่ง ที่ถือได้ว่าเป็น การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เนื่องจากผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติเพื่อฝึกทักษะต่างๆด้วยตนเองทุกขั้นตอน โดยมีครูเป็นผู้จัดประสบการณ์การเรียนรู้
การดำเนินการจัดการเรียนรู้กุ้งก้ามแดงสู่การเรียนรู้แบบบูรณาการโดยใช้โครงงานเป็นฐาน (Crayfish with Project based Learning)
ในการจัดการเรียนรู้แต่ละครั้ง ครูจะต้องเป็นผู้ที่มีความพร้อมและมีความแม่นยำในเนื้อหาเพื่อให้การจัดการเรียนรู้เป็นไปอย่างราบรื่น และสามารถอำนวยความสะดวกให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ขณะกิจกรรม ซึ่งการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ดังกล่าว มีแนวทางในการจัดการเรียนรู้ตามสาระการเรียนรู้
• การจัดกิจกรรมตามสาระการเรียนรู้ เป็นการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยยึดเนื้อหาสาระตามที่หลักสูตรกำหนด ผู้เรียนเลือกทำโครงงานตามที่สาระการเรียนรู้ จากหน่วยเนื้อหาที่เรียนในชั้นเรียน นำมาเป็นหัวข้อโครงงาน ซึ่งทางโรงเรียนได้จัดกิจกรรมการเรียนการสอนกุ้งก้ามแดงสู่การเรียนรู้แบบบูรณาการโดยใช้โครงงานเป็นฐาน (Project based Learning) มีขั้นตอนที่ผู้สอนดำเนินการดังต่อไปนี้
1. ศึกษาเอกสาร หลักสูตร คู่มือครู ของโรงเรียนบ้านเขาส่องกล้อง
2. วิเคราะห์หลักสูตรโรงเรียนบ้านเขาส่องกล้อง
3. วิเคราะห์คำอธิบายรายวิชา เพื่อแยกเนื้อหา จุดประสงค์และจัดกิจกรรมให้เด่นชัด ในเรื่องกุ้งก้ามแดงสู่การเรียนรู้แบบบูรณาการโดยใช้โครงงานเป็นฐาน (Crayfish with Project based Learning)
4. จัดทำกำหนดการสอนเรื่องกุ้งก้ามแดงสู่การเรียนรู้แบบบูรณาการโดยใช้โครงงานเป็นฐาน (Crayfish with Project based Learning)
5. เขียนแผนการจัดการเรียนรู้เรื่องกุ้งก้ามแดงสู่การเรียนรู้แบบบูรณาการโดยใช้โครงงานเป็นฐาน (Crayfish with Project based Learning)
6. ผลิตสื่อ จัดหาแหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่น เรื่อง กุ้งก้ามแดงสู่การเรียนรู้แบบบูรณาการโดยใช้โครงงานเป็นฐาน (Crayfish with Project based Learning)
7. จัดกิจกรรมการเรียนรู้บูรณาการ 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ โดยเริ่มตั้งแต่ แจ้งวัตถุประสงค์ กระตุ้นความสนใจของผู้เรียน จัดกลุ่มผู้เรียนตามความสนใจ การใช้คำถามกระตุ้นการมีส่วนร่วมของผู้เรียน ซึ่งจะกล่าวถึงรายละเอียดในหัวข้อ บทบาทของครูในฐานะผู้กระตุ้นการเรียนรู้
8.นักเรียนดำเนินการฝึกปฏิบัติจริงจากแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียน
9.บันทึกผลการจัดการเรียนรู้หลังการจัดกิจกรรมเรื่อง กุ้งก้ามแดงสู่การเรียนรู้แบบบูรณาการโดยใช้โครงงานเป็นฐาน (Project based Learning)
ในการจัดการเรียนรู้แบบใช้โครงงานเป็นฐานครั้งนี้ ได้นำแนวคิดที่ปรับปรุงจาก ดุษฎี โยเหลาและคณะ (2557: 20-23) ซึ่งเป็นแนวทางการจัดการเรียนรู้ที่สร้างขึ้นมาจากการศึกษาโรงเรียนในประเทศไทย โดยมีขั้นตอนดังนี้
1. ขั้นให้ความรู้พื้นฐาน ครูให้ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการทำโครงงานก่อนการเรียนรู้ เนื่องจากการทำโครงงานมีรูปแบบและขั้นตอนที่ชัดเจนและรัดกุม ดังนั้นนักเรียนจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีความรู้เกี่ยวกับโครงงานไว้เป็นพื้นฐาน เพื่อใช้ในการปฏิบัติขณะทำงานโครงงานจริง ในขั้นแสวงหาความรู้
2. ขั้นกระตุ้นความสนใจ ครูเตรียมกิจกรรมที่จะกระตุ้นความสนใจของนักเรียน โดยต้องคิดหรือเตรียมกิจกรรมที่ดึงดูดให้นักเรียนสนใจ ใคร่รู้ ถึงความสนุกสนานในการทำโครงงานหรือกิจกรรมร่วมกัน โดยกิจกรรมนั้นอาจเป็นกิจกรรมที่ครูกำหนดขึ้น หรืออาจเป็นกิจกรรมที่นักเรียนมีความสนใจต้องการจะทำอยู่แล้ว ทั้งนี้ในการกระตุ้นของครูจะต้องเปิดโอกาสให้นักเรียนเสนอจากกิจกรรมที่ได้เรียนรู้ผ่านการจัดการเรียนรู้ของครูที่เกี่ยวข้องกับชุมชนที่นักเรียนอาศัยอยู่หรือเป็นเรื่องใกล้ตัวที่สามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง
3. ขั้นจัดกลุ่มร่วมมือ ครูให้นักเรียนแบ่งกลุ่มกันแสวงหาความรู้ ใช้กระบวนการกลุ่มในการวางแผนดำเนินกิจกรรม โดยนักเรียนเป็นผู้ร่วมกันวางแผนกิจกรรมการเรียนของตนเอง โดยระดมความคิดและหารือ แบ่งหน้าที่เพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติร่วมกัน หลังจากที่ได้ทราบหัวข้อสิ่งที่ตนเองต้องเรียนรู้ในภาคเรียนนั้นๆเรียบร้อยแล้ว
4. ขั้นแสวงหาความรู้ ในขั้นแสวงหาความรู้มีแนวทางปฏิบัติสำหรับนักเรียนในการทำกิจกรรม ดังนี้
นักเรียนลงมือปฏิบัติกิจกรรมโครงงาน ตามหัวข้อที่กลุ่มสนใจนักเรียนปฏิบัติหน้าที่ของตนตามข้อตกลงของกลุ่ม พร้อมทั้งร่วมมือกันปฏิบัติกิจกรรม โดยขอคำปรึกษาจากครูเป็นระยะเมื่อมีข้อสงสัยหรือปัญหาเกิดขึ้น
นักเรียนร่วมกันเขียนรูปเล่ม สรุปรายงานจากโครงงานที่ตนปฏิบัติ
5. ขั้นสรุปสิ่งที่เรียนรู้ ครูให้นักเรียนสรุปสิ่งที่เรียนรู้จากการทำกิจกรรม โดยครูใช้คำถาม ถามนักเรียนนำไปสู่การสรุปสิ่งที่เรียนรู้
6. ขั้นนำเสนอผลงาน ครูให้นักเรียนนำเสนอผลการเรียนรู้ โดยครูออกแบบกิจกรรมหรือจัดเวลาให้นักเรียนได้เสนอสิ่งที่ตนเองได้เรียนรู้ เพื่อให้เพื่อนร่วมชั้น และนักเรียนอื่นๆในโรงเรียนได้ชมผลงานและเรียนรู้กิจกรรมที่นักเรียนปฏิบัติในการทำโครงงาน
เอกสารอ้างอิงจาก www.candmbsri.wordpress.com
การดำเนินงานในปีการศึกษา 2559 ของโรงเรียนบ้านเขาส่องกล้อง
1. ศึกษาดูงานที่ศูนย์เพาะพันธุ์กุ้งก้ามแดง อำเภอภาชี จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
ผู้อำนวยการและคณะครูร่วมศึกษาดูงานกุ้งก้ามแดง
ผู้บริหาร คณะครู และนักเรียน ร่วมกันทำสถานที่เลี้ยงกุ้งก้ามแดง