พัฒนากิจกรรม “ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้” ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจ พอเพียงโดยทฤษฎีความคิดสร้างสรรค์ด้วยปัญญา (กระบวนการ M-TEA-KE)
ชื่อผลงานแนวปฏิบัติที่ดี พัฒนากิจกรรม “ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้” ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจ
พอเพียงโดยทฤษฎีความคิดสร้างสรรค์ด้วยปัญญา (กระบวนการ M-TEA-KE)
https://youtu.be/25BiJywSexk
ด้าน การศึกษา
ผู้เสนอ นางสาวกรชนก เนตรโอภารักษ์
โรงเรียน วัดนาคปรก
สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากรุงเทพมหานคร
หมายเลขติดต่อ โทรศัพท์ 02 – 467 – 0568 โทรสาร 02 – 457 – 4202
Email kara102503@hotmail.com
1. ความเป็นมาและความสำคัญ
โรงเรียนวัดนาคปรก เป็นโรงเรียนที่ได้เข้าร่วมโครงการพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี ตั้งแต่ปีการศึกษา 2549 ซึ่งในระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมา โรงเรียนได้ส่งเสริมให้มีกิจกรรมทำขนมทองพับ ทองม้วนโดยภูมิปัญญาท้องถิ่นในการเรียนการสอนกลุ่มการงานอาชีพและเทคโนโลยี ครูและผู้เรียนส่วนใหญ่สามารถเรียนรู้ จัดทำและจำหน่ายรู้จักแพร่หลายในชุมชนสามารถพัฒนาเป็นหนึ่งโรงเรียน หนึ่งผลิตภัณฑ์ (One School One Product) ของโรงเรียน และผู้เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 – 6 จัดทำหนึ่งชั้นเรียน หนึ่งผลิตภัณฑ์ที่มีประโยชน์ ใช้ในชีวิตประจำวัน ไม่เป็นอันตราย
ราคาย่อมเยาในกิจกรรมชุมนุม นำมาจัดจำหน่าย เป็นของที่ระลึก และของถวายพระ ประกอบด้วย พิมเสนน้ำ สบู่เหลวสูตรมะขาม หอมไกลไล่ยุง ตุ๊กตาการบูร น้ำยาซักผ้า สบู่แฟนซี น้ำยาล้างจาน น้ำมันเหลืองสูตรไพล โดยผลิตภัณฑ์ของโรงเรียนได้รับการยอมรับจากทั้งภาครัฐและภาคเอกชน
เช่น กรมการศาสนา ให้โรงเรียนนำผลิตภัณฑ์ไปร่วมจัดนิทรรศการอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้โรงเรียนได้รับรางวัล สถานศึกษาแบบอย่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้และการบริหารจัดการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงประจำปี2556 “สถานศึกษาพอเพียง 2556” โรงเรียนรางวัลพระราชทานระดับก่อนประถมศึกษา ขนาดเล็ก ปีการศึกษา 2557 ครูผู้ฝึกสอนและนักเรียนได้รับรางวัลรางวัลเหรียญทอง การแข่งขันทำอาหารคาวจานเดียว(ประเภทข้าว)และอาหารหวาน(ขนมไทย) ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 – 6 รางวัลเหรียญทอง การแข่งขันทำอาหาร น้ำพริก ผักสด เครื่องเคียง ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 – 6 รางวัลเหรียญทองการแข่งขันโครงการแปรรูประดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 – 6 รางวัลเหรียญเงิน การแข่งขันโครงงานอาชีพระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 – 6 ในงานศิลปหัตถกรรมนักเรียน ครั้งที่ 65 ระดับเขตพื้นที่การศึกษาจะเห็นได้ว่า โรงเรียนให้ความสำคัญกับการพัฒนาผลิตภัณฑ์ต่างๆในกิจกรรมชุมนุม
ของโรงเรียน และเมื่อได้รับโอกาสเข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการของสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษาเรื่อง การส่งเสริมการจัดการศึกษาทางเลือก
ด้วยนวัตกรรมการเรียนเพื่อสร้างสรรค์ด้วยปัญญา (Constructionism) ในสถานศึกษา โรงเรียนได้ศึกษาแนวการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎี Constructionism ที่สอดคล้องกับบริบทของโรงเรียนและความรู้เดิมของผู้เรียน ซึ่งในปีการศึกษา 2558 โรงเรียนได้รับการคัดเลือกให้เป็นโรงเรียนนำร่อง “กิจกรรมลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้” ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากรุงเทพมหานคร ตามนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ มีเป้าหมาย
ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพผู้เรียนตามมาตรฐานการเรียนรู้ และมีทักษะสำคัญที่สอดคล้องกับคุณภาพของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 โดยทฤษฎีการเรียนรู้ที่สนับสนุนแนวคิด การลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ คือ ทฤษฎีคอนสตรัคติวิซึม(Constructivism) หรือทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง รูปแบบการเรียนรู้มีผู้เรียนเป็นศูนย์กลางและบูรณาการด้วยเทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต เป็นการเรียนรู้โดยการปฏิบัติ (Doing) หรือสร้าง (Making) สิ่งต่างๆที่เกิดขึ้น จากประสบการณ์เดิมของแต่ละบุคคลที่แตกต่างกันเชื่อมโยงกับประสบการณ์ใหม่หรือข้อมูลใหม่แล้วสร้างความรู้ขึ้นมาด้วยตนเอง มีการปฏิสัมพันธ์กับบุคคลอื่น แลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน นำไปสู่การปรับเปลี่ยน การสร้าง และ สะท้อนความคิดใหม่เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ให้ก้าวหน้ายิ่งขึ้น ความรู้จึงไม่หยุดนิ่ง ครูมีบทบาทในการจัดบริบทการเรียนรู้ ตั้งคำถามที่ท้าทายความสามารถ กระตุ้น สนับสนุนให้ผู้เรียนเกิดการสร้างความรู้
จากแนวคิดและความสำคัญดังกล่าวในเบื้องต้น โรงเรียนวัดนาคปรกจึงได้จัดทำโครงการพัฒนา
กิจกรรมลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ ตามแนวคิดทฤษฎีการเรียนรู้เพื่อสร้างสรรค์ด้วยปัญญา (Constructionism) โดยใช้กระบวนการ M-TEA-KE ในกิจกรรมชุมนุม ได้อย่างสอดคล้องกับ หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในบริบทของโรงเรียนและนโยบายกระทรวงศึกษาธิการ เพื่อให้นักเรียนมีทักษะสำหรับการออกไปดำรงชีวิตในโลกในศตวรรษที่ 21 โดยการพัฒนาผู้เรียนในหมวด 2 สร้างเสริมสมรรถนะและการเรียนรู้พัฒนาความสามารถด้านการคิดและพัฒนากรอบความคิดแบบเปิดกว้าง (Growth Mindset) หมวด 3 สร้างเสริมคุณลักษณะและค่านิยมปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม (มีวินัย ซื่อสัตย์ สุจริต เสียสละ อดทนมุ่งมั่นในการทำงาน กตัญญู) หมวด 4 สร้างเสริมทักษะการทำงาน การดำรงชีพ และทักษะชีวิตตอบสนองความสนใจ ความถนัด และความต้องการของผู้เรียนตามความแตกต่างระหว่างบุคคล ฝึกการทำงาน ทักษะทางอาชีพ ทรัพย์สินทางปัญญา อยู่อย่างพอเพียงและมีวินัยทางการเงิน จำนวน 6 ขั้นตอน ประกอบด้วย
ขั้นที่ 1 M : Motivation สร้างแรงจูงใจ ขั้นที่ 2 T: Transfer ถ่ายโอนความรู้เดิม ขั้นที่ 3 E : Explore เพิ่มเติมประสบการณ์ใหม่
ขั้นที่ 4 A : Action learning ใส่ใจปฏิบัติ ขั้นที่ 5 K : Knowledge รวมรวมจัดองค์ความรู้ และขั้นที่ 6 E : Exhibitionสู่การนำเสนอผลงาน ได้อย่างเป็นรูปธรรมมีผลงานเชิงประจักษ์จากกิจกรรม OPEN HOUSE และผ่านสื่อออนไลน์สถานีโทรทัศน์ TNN 24 เป็นต้น ผลงานดังกล่าว ส่งผลให้โรงเรียนเป็นแหล่งศึกษาดูงานของโรงเรียนเครือข่ายทั้งในและนอกเขตพื้นที่การศึกษารวมทั้งโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน
2. วัตถุประสงค์
2.1 เพื่อส่งเสริมการจัดกิจกรรม “ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้” ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยใช้กระบวนการ M-TEA-KE ในชุมนุม สร้างอาชีพเสริมรายได้ (MAKE ME MAKE MONEY)
2.2 เพื่อส่งเสริมการใช้ฐานเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงให้กับผู้เรียนในกิจกรรม “ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้”
2.3 เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อกิจกรรม “ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้” ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยใช้กระบวนการ M-TEA-KE
3. เป้าหมาย
3.1 เชิงปริมาณ
3.1.1 ครูทุกคนจัดการเรียนรู้ โดยใช้กระบวนการ M-TEA-KE ในกิจกรรม“ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้”
3.1.2 ผู้เรียนในชุมนุมสร้างอาชีพเสริมรายได้ (MAKE ME MAKE MONEY) ใช้ฐานการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงใน กิจกรรม “ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้” โดยใช้กระบวนการ M-TEA-KE
3.2 เชิงคุณภาพ
3.2.1 ผู้เรียนและผู้มีส่วนได้เสียในการจัดการศึกษาของโรงเรียนมีความพึงพอใจต่อกิจกรรม “ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้” ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยใช้กระบวนการ M-TEA-KE
3.2.2 โรงเรียนมีผลิตภัณฑ์จากกิจกรรม “ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้” ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยใช้กระบวนการ M-TEA-KE
4. หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
4.1 ความพอประมาณ
รู้จักการวางแผนใช้งบประมาณ และจัดหาวัตถุดิบที่มีอยู่ในฐานการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงภายในโรงเรียน เพื่อจัดทำผลิตภัณฑ์แต่ละครั้ง ให้เกิดประโยชน์สูงสุด และประหยัดงบประมาณที่มีอยู่
4.2 มีเหตุผล
สามารถเลือกส่วนผสมที่เป็นประโยชน์ ไม่เป็นอันตรายต่อผู้บริโภค เพื่อนำความรู้ไปใช้ฝึกปฏิบัติ รู้จักใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ มีรายได้เสริมระหว่างเรียน
4.3 ภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี
มีการวางแผนการทำงานอย่างรอบคอบ ในการสร้างนวัตกรรม ผลิตภัณฑ์อย่างถูกต้อง
4.4 เงื่อนไขความรู้
สามารถบูรณาการความรู้เดิมและความรู้ใหม่ในการเตรียมอุปกรณ์ ส่วนผสม และพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีความน่าสนใจและตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค
4.5 เงื่อนไขคุณธรรม
มีคุณลักษณะและค่านิยมที่เด่นชัด ในด้านมีวินัย ซื่อสัตย์ สุจริต เสียสละ อดทนมุ่งมั่นในการทำงาน
การเปลี่ยนแปลงใน 4 มิติ
4.6 ด้านเศรษฐกิจ
การใช้ฐานการเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงที่มีในโรงเรียน เป็นการประหยัดงบประมาณ
4.7 ด้านสังคม
ผู้เรียนมีความเสียสละ อดทนมุ่งมั่นในการทำงาน
4.8 ด้านสิ่งแวดล้อม
การใช้วัตถุดิบจากธรรมชาติทดแทนสารเคมี ไม่เป็นอันตรายต่อผู้บริโภค
4.9 ด้านวัฒนธรรม/ค่านิยม
เป็นการปลูกฝังวัฒนธรรมการกินอยู่ที่พึ่งพาตนเองให้มากที่สุด
5. ขั้นตอนของกระบวนการ M-TEA-KE
– Motivation สร้างแรงจูงใจ
– Transfer ถ่ายโอนความรู้เดิม
– Explore เพิ่มเติมประสบการณ์ใหม่
– Action learning ใส่ใจปฏิบัติ
– Knowledge รวบรวมจัดองค์ความรู้
– Exhibition สู่การนำเสนอผลงาน
6. กระบวนการ/ขั้นตอน ใช้กระบวนการ PDCA
การพัฒนากิจกรรม “ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้” ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยทฤษฎีความคิดสร้างสรรค์ด้วยปัญญา (กระบวนการ M-TEA-KE) มีขั้นตอนการดำเนินงานตามวงจรการควบคุมคุณภาพ (PDCA) ดังนี้
ขั้นเตรียมงาน (PLAN)
ผู้มีส่วนได้เสียในการจัดการศึกษาของโรงเรียนร่วมกันวางแผนการพัฒนาและการจัดทำผลิตภัณฑ์ในรูปแบบของ ชุมนุมสร้างอาชีพเสริมรายได้ (MAKE ME MAKE MONEY) ดังนี้
1. ประชุมวางแผนเพื่อสำรวจสภาพปัจจุบัน ปัญหา ความต้องการ
2. วิเคราะห์กิจกรรมให้สอดคล้องกับกิจกรรม”ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้” ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
3. แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานตามกิจกรรม
การดำเนินงาน (DO)
1. จัดอบรมให้ความรู้การออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ตามทฤษฎีความคิดสร้างสรรค์ด้วยปัญญา (กระบวนการ M-TEA-KE) ที่สอดแทรกหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
2. จัดกิจกรรม ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ ด้วยกระบวนการ M-TEA-KE ที่น้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง จำแนกตามบทบาทของครูและผู้เรียน ดังนี้
ฐานการเรียนรู้ชุมนุมสร้างอาชีพ เสริมรายได้ (ตัวอย่าง)
กิจกรรมบูรณาการ M-TEA-KE: ซีฟู้ดตกหลุมรัก
กิจกรรมบูรณาการ M-TEA-KE: เค้กนึ่งสมุนไพร
กิจกรรมบูรณาการ M-TEA-KE: น้ำดื่มสมุนไพร
กิจกรรมบูรณาการ M-TEA-KE: เกล็ดหิมะสมุนไพร
กิจกรรมบูรณาการ M-TEA-KE: สบู่แฟนซี
กิจกรรมบูรณาการ M-TEA-KE: กระทงการกุศล
ฐานการเรียนรู้หนึ่งชั้นเรียน หนึ่งผลิตภัณฑ์
กิจกรรมบูรณาการ M-TEA-KE: น้ำมันเหลืองสูตรไพล โดย ผู้เรียนชั้นอนุบาล 2
กิจกรรมบูรณาการ M-TEA-KE: พิมเสนน้ำ โดย ผู้เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1
กิจกรรมบูรณาการ M-TEA-KE: สบู่เหลวสูตรมะขาม โดย ผู้เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2
กิจกรรมบูรณาการ M-TEA-KE: ตุ๊กตาการบูร โดย ผู้เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
กิจกรรมบูรณาการ M-TEA-KE: น้ำยาซักผ้าขาว โดย ผู้เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
กิจกรรมบูรณาการ M-TEA-KE: สมุนไพรไล่ยุง โดย ผู้เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
กิจกรรมบูรณาการ M-TEA-KE: น้ำยาล้างจานสมุนไพร โดย ผู้เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
ฐานการเรียนรู้หนึ่งโรงเรียน หนึ่งผลิตภัณฑ์
กิจกรรมบูรณาการ M-TEA-KE: ทองพับอินเตอร์
4. จัดทำบัญชีรายรับ-รายจ่ายในการจัดทำผลิตภัณฑ์
5. คัดเลือกและคัดสรร นวัตกรรมการจัดการเรียนการสอนด้วยกระบวนการ M-TEA-KE เป็นแนวปฏิบัติที่ดีของโรงเรียน
การติดตาม ตรวจสอบ (CHECK)
1. สรุปและประเมินผลการพัฒนากิจกรรม “ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้” ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงโดยทฤษฎีความคิดสร้างสรรค์ด้วยปัญญา (กระบวนการ M-TEA-KE) โดยผู้เรียน ครู และผู้ปกครอง
2. ประเมินความพึงพอใจของผู้เรียนต่อกิจกรรม “ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้” ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยใช้กระบวนการ M-TEA-KE
การปรับปรุงและพัฒนา (ACTION)
1. ถ้าไม่บรรลุวัตถุประสงค์ตามโครงการ ดำเนินการวิเคราะห์ผลการประเมินและ นำข้อเสนอแนะมาปรับปรุงแก้ไข และนิเทศ ติดตาม ประเมินผลการดำเนินการตามกิจกรรมที่กำหนดไว้อย่างต่อเนื่อง
7. ผลการดำเนินงาน
7.1 ครูทุกคนจัดการเรียนรู้ โดยใช้กระบวนการ M-TEA-KE ในกิจกรรม“ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้”
7.2 ผู้เรียนในชุมนุมสร้างอาชีพเสริมรายได้ (MAKE ME MAKE MONEY) ใช้ฐานการเรียนรู้ชุมนุมสร้างอาชีพ เสริมรายได้ จำนวน 15 ฐาน / ฐานการเรียนรู้หนึ่งชั้นเรียน หนึ่งผลิตภัณฑ์ จำนวน 8 ฐาน และฐานการเรียนรู้หนึ่งโรงเรียน หนึ่งผลิตภัณฑ์ จำนวน 1 ฐานใน กิจกรรม “ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้” ผ่านกระบวนการ M-TEA-KE
7.3 ผู้เรียนและผู้มีส่วนได้เสียในการจัดการศึกษาของโรงเรียนมีความพึงพอใจต่อกิจกรรม “ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้” ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยใช้กระบวนการ M-TEA-KE ในระดับดีขึ้นไป ร้อยละ94.96
7.4 โรงเรียนมีหนึ่งโรงเรียน หนึ่งผลิตภัณฑ์ และหนึ่งชั้นเรียน หนึ่งผลิตภัณฑ์ จากกิจกรรม “ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้” ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยใช้กระบวนการ M-TEA-KE จัดจำหน่ายในรูปแบบต่างๆให้วัดนาคปรก ผู้ปกครองและชุมชน จัดทำเป็นของว่าง ของที่ระลึกในการประชุมต่างๆของโรงเรียน และ นำผลิตภัณฑ์ร่วมจัดนิทรรศการกับกรมการศาสนาอย่างต่อเนื่อง
7.5 ผู้เรียนสามารถรวบรวมองค์ความรู้ทางคณิตศาสตร์ในการจัดทำบัญชีรายรับ รายจ่าย การคำนวณต้นทุนการผลิต คำนวณส่วนผสม เทคโนโลยี ในการสืบค้นข้อมูลหรือใช้กระบวนการ วิธีการต่างๆ ที่ทำให้งานสำเร็จ วิศวกรรมศาสตร์ในการออกแบบผลิตภัณฑ์ สร้างผลิตภัณฑ์
7.6 ผู้เรียนมีรายได้ระหว่างเรียนในการเข้าร่วมชุมนุมสร้างอาชีพเสริมรายได้ (MAKE ME MAKE MONEY)
8. ปัจจัยที่ทำให้สำเร็จ
โครงการ พัฒนากิจกรรม “ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้” ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงโดยทฤษฎีความคิดสร้างสรรค์ด้วยปัญญา (กระบวนการ M-TEA-KE) เป็นแนวปฏิบัติที่ดี ที่เป็นสื่อในการให้ผู้เรียนได้กล้าแสดงออกถึงความถนัดของตนเองอย่างสร้างสรรค์โดยได้รับการสนับสนับ ส่งเสริม จากทุกฝ่าย ดังนี้
ผู้บริหารโรงเรียน ให้ความสำคัญในการจัดการเรียนรู้โดย ใช้กระบวนการ M-TEA-KE อย่างต่อเนื่องทุกระดับชั้น ได้จัดสรรงบประมาณตามความต้องการ ความจำเป็นอย่างพอเพียง
ครู รู้จักผู้เรียนเป็นรายบุคคล สามารถจัดการเรียนรู้ที่ตอบสนองความถนัด ความสนใจของผู้เรียนได้อย่างสร้างสรรค์
ผู้ปกครองและชุมชน เป็นวิทยากรท้องถิ่นในการสาธิตขั้นตอนการทำผลิตภัณฑ์ของแต่ละชั้นเรียน
ผู้เรียน ใช้กระบวนการคิด มีความเสียสละ อดทน มุ่งมั่นในการทำงาน
9. ประโยชน์ที่ได้รับ
โรงเรียน
1.มีหนึ่งโรงเรียน หนึ่งผลิตภัณฑ์ และหนึ่งชั้นเรียน หนึ่งผลิตภัณฑ์ที่เป็นเอกลักษณ์ของโรงเรียน
2.กิจกรรม “ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้”เป็นแนวปฏิบัติที่ดี (Best Practice) ของโรงเรียน
ครู
มีรูปแบบการสอนตามแนวทฤษฎีความคิดสร้างสรรค์ด้วยปัญญา (กระบวนการ M-TEA-KE) ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ที่แสดงถึงแนวปฏิบัติที่ดี (Best Practice) ของโรงเรียน
ผู้เรียน
ได้พัฒนากระบวนการคิดโดยเฉพาะความคิดสร้างสรรค์ ความคิดรวบยอดสามารถสร้างผลิตภัณฑ์ มีรายได้ระหว่างเรียน
10. การเผยแพร่ / การได้รับการยอมรับ / และความภาคภูมิใจ
โรงเรียน
– เผยแพร่ผลงานการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางทฤษฎีความคิดสร้างสรรค์ด้วยปัญญา (กระบวนการ M-TEA-KE) ในงานประชุมสัมมนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ โครงการ “ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้” ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากรุงเทพมหานคร
– เป็นที่ศึกษาดูงานกิจกรรมลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ ให้กับสถานศึกษาทั้งภาครัฐและเอกชน
– กิจกรรมลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ และชุมนุมสร้างอาชีพ เสริมรายได้ ได้รับการยอมรับและมีผลงานเป็นที่ประจักษ์ เผยแพร่ผ่านสื่อออนไลน์สถานีโทรทัศน์ TNN 24 รายการห้องข่าวเยาวชน
ครู
– เผยแพร่ผลงานวิจัย การประกวดสื่อนวัตกรรมด้วยกระบวนการ M-TEA-KEของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากรุงเทพมหานคร
– ครูผู้ฝึกสอนได้รับรางวัลรางวัลเหรียญทอง การแข่งขันทำอาหารคาวจานเดียว (ประเภทข้าว) และอาหารหวาน(ขนมไทย)ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 – 6 ระดับเขตพื้นที่การศึกษา
– ครูผู้ฝึกสอนได้รับรางวัลเหรียญทอง การแข่งขันทำอาหาร น้ำพริก ผักสด เครื่องเคียง ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 – 6 ระดับเขตพื้นที่การศึกษา
– ครูผู้ฝึกสอนได้รับรางวัลรางวัลเหรียญทองการแข่งขันโครงการแปรรูป ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 – 6 ระดับเขตพื้นที่การศึกษา
– ครูผู้ฝึกสอนได้รับรางวัลรางวัลเหรียญเงิน การแข่งขันโครงงานอาชีพ ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 – 6 ในงานศิลปหัตถกรรมนักเรียน ครั้งที่ 65 ระดับเขตพื้นที่การศึกษา
ผู้เรียน
– ได้รับรางวัลรางวัลเหรียญทอง การแข่งขันทำอาหารคาวจานเดียว (ประเภทข้าว) และอาหารหวาน(ขนมไทย) ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 – 6 ระดับเขตพื้นที่การศึกษา
– ได้รับรางวัลเหรียญทอง การแข่งขันทำอาหาร น้ำพริก ผักสด เครื่องเคียง ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 – 6 ระดับเขตพื้นที่การศึกษา
– ได้รับรางวัลรางวัลเหรียญทองการแข่งขันโครงการแปรรูป ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 – 6 ระดับเขตพื้นที่การศึกษา
– ได้รับรางวัลรางวัลเหรียญเงิน การแข่งขันโครงงานอาชีพ ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 – 6 ในงานศิลปหัตถกรรมนักเรียน ครั้งที่ 65 ระดับเขตพื้นที่การศึกษา