ครัวบ้านคลอง ๑๔ สู่งานอาชีพ
ชื่อผลงาน “ครัวบ้านคลอง ๑๔ สู่งานอาชีพ”
ความเป็นมาและความสำคัญ
โรงเรียนบ้านคลอง๑๔ ประชาชนส่วนใหญ่มีฐานะยากจน สภาพความเป็นอยู่ของนักเรียนยังขาดโอกาสทางการศึกษาเนื่องจากผู้ปกครองไม่สามารถส่งเสริมให้ศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้นได้ อาชีพส่วนใหญ่ของผู้ปกครองก็มีเพียงรับจ้างและเกษตรกรรม การเกษตรจึงเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตที่ดีงามแต่การพัฒนาที่ผ่านมาส่งผลทำให้เด็กและเยาวชนรุ่นใหม่มีทักษะและความชำนาญทางการเกษตรลดลงมีทัศนคติว่าเป็นงานหนักเหน็ดเหนื่อย รายได้ไม่คุ้มการลงทุน ทำให้ขาดความสนใจในงานเกษตร
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ยังทรงเห็นว่าการงานพื้นฐานอาชีพอื่นๆ เช่น การประกอบอาหาร การแปรรูปถนอมอาหาร ภายในครัวเรือน ก็เป็นพื้นฐานที่จะเป็นประโยชน์ในการดำรงชีวิตประจำวันของเด็กและการปลูกฝังให้เด็กและเยาวชนสามารถช่วยเหลือซึ่งกันและกัน และรู้จักเสียสละเพื่อส่วนรวม ความรู้ที่ได้สามารถนำไปใช้ในการผลิตอาหารสำหรับบริโภคในครัวเรือน ซึ่งเป็นการช่วยลดรายจ่ายของครัวเรือนได้ การสร้างอาชีพที่สุจริตเป็นกิจกรรมการต่อยอดจากการเรียนการสอนด้านอาหารและโภชนาการให้นักเรียนจนสามารถจัดทำหลักสูตรท้องถิ่น นักเรียนฝึกอาชีพ มีรายได้ระหว่างเรียน และเมื่อจบการศึกษาออกไปก็สามารถประกอบอาชีพได้
วัตถุประสงค์
๑. เพื่อน้อมนำพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มาสู่การปฏิบัติให้เป็นรูปธรรม
๒. เพื่อแปรรูปถนอมอาหารผลผลิตทางการเกษตรมาประกอบเป็นอาชีพแก่นักเรียน
๓. เพื่อจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการ ความรู้ ทักษะ อาชีพ นำความรู้ที่ได้ไปพัฒนาท้องถิ่นของตนเอง
๔. เพื่อฝึกอาชีพให้กับนักเรียนและมีรายได้เสริมระหว่างเรียนเห็นคุณค่าของการประกอบอาชีพที่สุจริต
๕. เพื่อเชื่อมความสัมพันธ์อันดีระหว่างโรงเรียนและชุมชนพัฒนาอาชีพให้กับชุมชน
กระบวนการ/ขั้นตอนการดำเนินงาน
– ศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่นที่มีความรู้ความสามารถในด้านอาหาร
– นำข้อมูลที่สอบถาม,สืบค้น มาร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้
– เผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร จากการประชาสัมพันธ์หน้าเสาธงและจัดตั้งกลุ่มสนใจ
– ให้ความรู้ในเรื่องการทำอาหารและขนมการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร
– ลงมือทำกิจกรรม ครูที่ปรึกษาจัดเตรียมงบประมาณและวัสดุอุปกรณ์โดยยืมผ่านกลุ่มสหกรณ์ ในการปฏิบัตินั้นมีความร่วมมือจากวิทยากรท้องถิ่นและผู้ปกครองมาช่วยให้คำแนะนำ
– กระบวนการตรวจสอบผลผลิต ได้นำไปทดลองกับกลุ่มตัวอย่างนักเรียนและครูในโรงเรียนในสิ่งที่นักเรียนผลิต หากผลการตอบรับดี จึงสามารถผลิตสินค้าได้
– นำเสนอสิ่งที่ได้เรียนรู้ผลที่เกิดจากการปฏิบัติจริง อาทิเช่น มะตะบะเคบัฟยกระดับโรตี ละอองน้อยพลอยสุก ขนมไทย อาหารมุสลิม ขนมมุสลิม แปรรูปผลิตทางการเกษตร ชาชัก
– กระบวนการตลาด โดยจำหน่ายในโรงเรียนตลาดนัดอาชีพ และงานต่างๆ ที่โรงเรียนมีโอกาสนำเสนอ
แผนภูมิ ๑ แสดงการจัดการเรียนรู้แบบ QSCCS
ผลการดำเนินงาน/ผลสัมฤทธิ์/ประโยชน์ที่ได้รับ
๑. ผลจากการจัดกิจกรรมนักเรียนสามารถสร้างรายได้ด้วยวิถีพอเพียง เกิดความภาคภูมิใจในการประกอบอาชีพที่สุจริต
๒. นักเรียนมีความรู้ความสามารถ พร้อมทั้งมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างการทำกิจกรรมภายในกลุ่มและต่างกลุ่ม มีรายได้ระหว่างเรียน และมีคุณธรรมตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
๓. ชุมชนร่วมจัดทำหลักสูตรท้องถิ่น
๔. ชุมชนมีส่วนร่วมในการเผยแพร่ ประชาสัมพันธ์องค์ความรู้ในด้านอาหาร
๕. ผลสำเร็จนั้นต้องยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง นั่นคือมีความพอประมาณ ทำตามความเหมาะสมตามศักยภาพของนักเรียน ความมีเหตุมีผล เพราะนักเรียนต้องการมีรายได้ระหว่างเรียนเพื่อให้ฐานะทางเศรษฐกิจของครอบครัว มีภูมิคุ้มกันที่ดีคือได้ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ในการสร้างรายได้ให้แก่ครอบครัว เงื่อนไขความรู้นั้นนักเรียนได้รับความรู้ เงื่อนไขคุณธรรม นักเรียนมีความขยัน อดทน รู้จักแบ่งปันมีน้ำใจ ซื่อสัตย์ มีความสามัคคี สู่ความยั่งยืนแบบสมดุลทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ด้านเศรษฐกิจ คือมีรายได้ระหว่างเรียน ด้านสังคม นักเรียนได้ทำงานร่วมกัน มีความรับผิดชอบ มีระเบียบวินัย ด้านสิ่งแวดล้อมนั้นเป็นการรู้จักนำทรัพยากรที่มีอยู่ในท้องถิ่นมาใช้ให้เกิดประโยชน์เพิ่มมูลค่า ด้านวัฒนธรรม นักเรียนจะมีความภาคภูมิใจในตนเอง รู้สึกว่าตนเองมีคุณค่าต่อครอบครัว สังคม เห็นคุณค่าของภูมิปัญญาท้องถิ่น
ปัจจัยความสำเร็จ
๑. มีความรู้และทักษะในการทำงานมีความคิดสร้างสรรค์มีทัศนคติที่ดีต่องานและเห็นคุณค่าของการทำงานจากภูมิปัญญาท้องถิ่น
๒. สนับสนุนงบประมาณจากโรงเรียนและพัฒนาต่อยอดเป็นกิจกรรมต่างๆ
๓. มีหลักสูตรท้องถิ่นที่ร่วมกันพัฒนาระหว่างโรงเรียนและชุมชน
การเผยแพร่/การได้รับการยอมรับ/และความภาคภูมิใจ
๑. วีดีทัศน์ “โครงการจัดการสอนทักษะอาชีพในโรงเรียนการศึกษาภาคบังคับ”
๒. รายการด้วยพระบารมีทางสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย ชุด “ผู้ให้” เราจะทำแบบในหลวง
๓. หนังสือพิมพ์มติชนบท “เทคโนโลยีชาวบ้าน” ฉบับที่ 588 วันที่ 1 ธันวาคม 2557
๔. กิจกรรม “ตลาดนัดอาชีพ”
๕. กิจกรรม “เถ้าแก่น้อย”
ภาพประกอบ
การศึกษาดูงานจากประเทศอินโดนีเซีย
นำเสนออาหารอาเซียน นาซิกเลอมัก
ต้อนรับคณะดูงานจากครูและผู้บริหารงานอาชีพ สพฐ.
\
ถ่ายทำวีดีทัศน์“โครงการจัดการสอนทักษะอาชีพในโรงเรียนการศึกษาภาคบังคับ”
ถ่ายทำรายการด้วยพระบารมีตอน “ผู้ให้”
กิจกรรมตลาดนัดโรงเรียน สพป.นครนายก
กิจกรรมตลาดนัดอาชีพ
นำเสนองานเมืองทองธานี
บทคัดย่อ
“ครัวบ้านคลอง ๑๔ สู่งานอาชีพ”
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเห็นว่าการงานพื้นฐานอาชีพอื่นๆ เช่น การประกอบอาหาร การแปรรูปถนอมอาหาร ภายในครัวเรือน ก็เป็นพื้นฐานที่จะเป็นประโยชน์ในการดำรงชีวิตประจำวันของเด็กและการปลูกฝังให้เด็กและเยาวชนสามารถช่วยเหลือซึ่งกันและกัน และรู้จักเสียสละเพื่อส่วนรวม ความรู้ที่ได้สามารถนำไปใช้ในการผลิตอาหารสำหรับบริโภคในครัวเรือน ซึ่งเป็นการช่วยลดรายจ่ายของครัวเรือนได้ การสร้างอาชีพที่สุจริตเป็นกิจกรรมการต่อยอดจากการเรียนการสอนด้านอาหารและโภชนาการให้นักเรียนจนสามารถจัดทำหลักสูตรท้องถิ่น นักเรียนฝึกอาชีพ มีรายได้ระหว่างเรียน และเมื่อจบการศึกษาออกไปก็สามารถประกอบอาชีพได้
วัตถุประสงค์เพื่อน้อมนำพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มาสู่การปฏิบัติให้เป็นรูปธรรมการแปรรูปถนอมอาหารผลผลิตทางการเกษตรมาประกอบเป็นอาชีพแก่นักเรียนจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการ ความรู้ ทักษะ อาชีพ นำความรู้ที่ได้ไปพัฒนาท้องถิ่นของตนเอง เพื่อเชื่อมความสัมพันธ์อันดีระหว่างโรงเรียนและชุมชนพัฒนาอาชีพให้กับชุมชนโดยการศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่นที่มีความรู้ความสามารถในด้านอาหารนำข้อมูลที่สอบถาม,สืบค้น มาร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร ครูที่ปรึกษาจัดเตรียมงบประมาณและวัสดุอุปกรณ์โดยยืมผ่านกลุ่มสหกรณ์ ในการปฏิบัตินั้นมีความร่วมมือจากวิทยากรท้องถิ่นและผู้ปกครอง และนำเสนอสิ่งที่ได้เรียนรู้ผลที่เกิดจากการปฏิบัติจริง อาทิเช่น มะตะบะเคบัฟยกระดับโรตี ละอองน้อยพลอยสุก ขนมไทย อาหารมุสลิม ขนมมุสลิม แปรรูปผลิตทางการเกษตร ชาชักเข้าสู่กระบวนการตลาด โดยจำหน่ายในโรงเรียนตลาดนัดอาชีพ และงานต่างๆ ที่โรงเรียนมีโอกาสนำเสนอ ผลจากการจัดกิจกรรมนักเรียนสามารถสร้างรายได้ด้วยวิถีพอเพียง เกิดความภาคภูมิใจในการประกอบอาชีพที่สุจริตนักเรียนมีความรู้ความสามารถ พร้อมทั้งมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างการทำกิจกรรมภายในกลุ่มและต่างกลุ่ม มีรายได้ระหว่างเรียน และมีคุณธรรมตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงชุมชนร่วมจัดทำหลักสูตรท้องถิ่น มีส่วนร่วมในการเผยแพร่ ประชาสัมพันธ์องค์ความรู้ในด้านอาหาร นักเรียนจะมีความภาคภูมิใจในตนเอง รู้สึกว่าตนเองมีคุณค่าต่อครอบครัว สังคม เห็นคุณค่าของภูมิปัญญาท้องถิ่น