โครงการการอนุรักษ์ ฟื้นฟู และสืบสาน ศิลปวัฒนธรรม จารีตประเพณี และภูมิปัญญาท้องถิ่น
จากการศึกษาพบว่า ปัญหาด้านวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่นภูมิปัญญาไทยกำลังเปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรงและเสื่อมถอยเด็กและเยาวชนรุ่นใหม่ไม่เห็นคุณค่า ละเลยวิถีชีวิตที่ดีงามของสังคมไทย ถูกครอบงำโดยวัฒนธรรมต่างชาติที่มาพร้อมกับโลกาภิวัตน์ จึงเป็นเรื่องที่น่าเป็นห่วงอย่างยิ่ง จากปัญหาดังกล่าว โรงเรียนบ้านโคกป่ากุง ได้จัดทำโครงการ “โครงการการอนุรักษ์ ฟื้นฟู และสืบสาน ศิลปวัฒนธรรม จารีตประเพณี และภูมิปัญญาท้องถิ่น” โดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เด็กและเยาวชนทุกคนมีความรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นของตน2) เด็กและเยาวชนมีความภาคภูมิใจ เห็นคุณค่าในมรดกทางวัฒนธรรมและภูมิปัญญาของท้องถิ่น และมีความรักท้องถิ่น โดยใช้การบริหารเชิงกลยุทธ์ กระบวนการคุณภาพ (PDCA) การบริหารแบบมีส่วนร่วมในการดำเนินงานอย่างเต็มที่ (Full Participation) การจัดการความรู้ (KM) โดยใช้สภาวัฒนธรรมนักเรียน เป็นผู้ขับเคลื่อนการดำเนินกิจกรรม
รูปแบบการดำเนินกิจกรรม การอนุรักษ์ ฟื้นฟู และสืบสาน ศิลปวัฒนธรรม จารีตประเพณี และภูมิปัญญาท้องถิ่น 6 ด้าน ได้แก่ 1) วัฒนธรรมด้านภาษา 2) วัฒนธรรมด้านศาสนา 3) วัฒนธรรมด้านการแต่งกาย 4) วัฒนธรรมด้านขนบธรรมเนียมประเพณี 5) วัฒนธรรมด้านดนตรีพื้นบ้าน (โปงลาง) 6) วัฒนธรรมด้านศิลปะ ผลงานเป็นที่ประจักษ์ เช่น ได้รับการคัดเลือกจากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เป็นตัวแทนโรงเรียนในโครงการพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารีภาคตะวันออกเฉียงเหนือนำผลงานการแสดงงานสืบสานวัฒนธรรมท้องถิ่น (หมอลำเพื่อชีวิต) ที่เมืองทองธานี วันที่ 17 – 19 กุมภาพันธ์ 2558 2)
ที่จังหวัดเชียงใหม่ 21 – 23 มกราคม 2558