Best Practices “วิธีปฏิบัติที่ดี” ปลูกข้าวในบ่อซีเมนต์ โรงเรียนวัดสันตยาราม จังหวัดนครนายก

ประเภทที่ 1 : โรงเรียนมีวิธีปฏิบัติที่ดีเป็นรายด้าน ด้านที่ 2 การศึกษา
โรงเรียนวัดสันตยาราม อำเภอเมืองนครนายก จังหวัดนครนายก
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครนายก
โทรศัพท์/โทรสาร 037-313557 เว็บไซต์ http://www.santayaram.ac.th/
ชื่อ-สกุล ผู้เสนอผลงาน นางกัญรินทร์ ชอบสุข
โทรศัพท์มือถือ 089 – 6895106
E-mail santayaram1@gmail.com
—————————————————————————————————————————–
บทคัดย่อ
STEM Education (Science Technology Engineering and Mathematics Education)
คือ แนวทางการจัดการศึกษาที่บูรณาการ ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ ความรู้ทางด้านเทคโนโลยี ความรู้ทางด้านวิศวกรรม และความรู้ด้านคณิตศาสตร์ เพื่อเน้นการนำความรู้ไปใช้แก้ปัญหาในการดำเนินชีวิตรวมทั้งเพื่อให้สามารถพัฒนากระบวนการ หรือผลผลิตใหม่ที่เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิต และการประกอบอาชีพในอนาคต
โรงเรียนวัดสันตยาราม เป็นโรงเรียนในโครงการตามพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ
สยามบรมราชกุมารี ซึ่งต้องดำเนินกิจกรรมตาม 6 วัตถุประสงค์หลัก ดังนั้น จึงได้นำหลักการจัดการศึกษาแบบ STEM มาใช้ในการบูรณาการกิจกรรม การปลูกข้าวในบ่อซีเมนต์ โดยนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ซึ่งตามหลักการของ STEM ศึกษา สามารถจัดการศึกษาได้ ดังนี้
S (Science) : การสืบค้นข้อมูล การทำนาข้าว
T (Technology) : การสืบค้นข้อมูลทาง Internet, Google Earth , โปรแกรม SketchUp
E (Engineering) : การออกแบบการวางแผนผังบ่อซีเมนต์ และการวางระบบน้ำ
M (Mathematics) : การคิดคำนวณพื้นที่,วัสดุที่ใช้ บ่อซีเมนต์,
การทำบัญชี รายรับ – รายจ่าย , กำไร-ขาดทุน ฯลฯ
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สามารถสืบค้นข้อมูล วิธีแก้ปัญหาจากสถานการณ์ที่กำหนดให้ นำเสนอข้อมูลหลายทางเลือก มีการอภิปรายร่วมกัน จนได้ข้อตกลง เลือกใช้การวางผังและออกแบบระบบการปลูกข้าวในบ่อซีเมนต์ ที่เหมาะสม ลงมือปลูกข้าวในบ่อซีเมนต์ได้สำเร็จ
ความสำคัญ
ในสังคมโลกในขณะนี้มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วด้วยความก้าวหน้าเทคโนโลยีการสื่อสารก่อให้เกิดปรากฏการณ์ที่มีข้อมูลข่าวสารจำนวนมหาศาล อยู่ในแหล่งต่างๆ รวมถึงการที่ต้องแข่งขันกัน เพื่อประโยชน์ทางเศรษฐกิจการค้า ทำให้ทุกประเทศต้องเร่งพัฒนาประชากรของตนให้มีคุณภาพสูงขึ้น เพื่อให้สามารถดำรงชีวิต และแข่งขันในตลาดแรงงานกับนานาอารยประเทศได้ เพราะฉะนั้นจึงต้องมีการปรับหลักสูตรโดยบูรณาการการเรียนรู้วิทยาศาสตร์คณิตศาสตร์ เทคโนโลยีและกระบวนการทางวิศวกรรมศาสตร์ เพื่อให้ผู้เรียนสามารถนำไปใช้แก้ปัญหาในชีวิตจริง และการประกอบอาชีพในอนาคต ส่วนของผู้สอนและผู้เรียนก็ต้องมีปรับเปลี่ยนตนเองให้มีทักษะที่จำเป็นในการเป็นผู้สอน และผู้เรียนสำหรับการจัดการศึกษาในศตวรรษที่ 21 ทุกคนจะต้องเรียนรู้ตลอดชีวิต คือ การเรียนรู้ 3R x 7C 3 R ได้แก่ Reading (การอ่าน), การเขียน(Writing) และ คณิตศาสตร์ (Arithmetic) และ4 C (Critical Thinking การคิดวิเคราะห์, Communication การสื่อสาร Collaboration การร่วมมือ และ Creativity ความคิดสร้างสรรค์ รวมถึงทักษะชีวิตและอาชีพ และทักษะด้านสารสนเทศสื่อและเทคโนโลยี และการบริหารจัดการด้านการศึกษาแบบใหม่ ซึ่งกำลังเป็นหัวข้อที่ได้รับความสนใจกล่าวถึงกันอย่างมากในวงวิชาการ
ดังนั้น โรงเรียนวัดสันตยาราม ซึ่งเป็นโรงเรียนในโครงการตามพระราชดำริ สมเด็จพระเทพ
รัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ต้องดำเนินกิจกรรมตาม 6 วัตถุประสงค์หลัก จึงจัดให้มีการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ STEM ศึกษา การปลูกข้าวในบ่อซีเมนต์
วัตถุประสงค์
1.เพื่อพัฒนาการจัดการเรียนการสอนแบบ STEM ศึกษา โดยบูรณาการกิจกรรมในโครงการตามพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เรื่อง การปลูกข้าวในบ่อซีเมนต์
2. เพื่อพัฒนานักเรียนให้มีพัฒนาการด้านต่างๆ ตามแนวทางการพัฒนาคนให้มีคุณภาพในศตวรรษ
ที่ 21 ทุกคนจะต้องเรียนรู้ตลอดชีวิต คือ การเรียนรู้ 3R x 7C 3 R ได้แก่ Reading (การอ่าน), การเขียน(Writing) และ คณิตศาสตร์ (Arithmetic) และ 4 C (Critical Thinking การคิดวิเคราะห์, Communication การสื่อสาร Collaboration การร่วมมือ และ Creativity ความคิดสร้างสรรค์
3. เพื่อให้นักเรียนมีทักษะชีวิต ทักษะอาชีพ ทักษะด้านสารสนเทศ สื่อและเทคโนโลยี
เป้าหมาย
เชิงปริมาณ
ร้อยละ 100 ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ได้รับการพัฒนาการด้านต่างๆ ตามแนวทางการพัฒนาคนให้มีคุณภาพในศตวรรษที่ 21 ทุกคนจะต้องเรียนรู้ตลอดชีวิต คือ การเรียนรู้ 3R x 7C 3 R ได้แก่ Reading (การอ่าน), การเขียน(Writing) และ คณิตศาสตร์ (Arithmetic) และ4 C (Critical Thinking การคิดวิเคราะห์, Communication การสื่อสาร Collaboration การร่วมมือ และ Creativity ความคิดสร้างสรรค์ รวมถึงทักษะชีวิตและอาชีพ และทักษะด้านสารสนเทศ สื่อและเทคโนโลยี
เชิงคุณภาพ
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ได้รับการพัฒนาการด้านต่างๆตามแนวทางการพัฒนาคนให้มีคุณภาพในศตวรรษที่ 21 ทุกคนจะต้องเรียนรู้ตลอดชีวิต คือ การเรียนรู้ 3R x 7C 3 R ได้แก่ Reading (การอ่าน), การเขียน(Writing) และ คณิตศาสตร์ (Arithmetic) และ4 C (Critical Thinking การคิดวิเคราะห์, Communication การสื่อสาร Collaboration การร่วมมือ และ Creativity ความคิดสร้างสรรค์ รวมถึงทักษะชีวิตและอาชีพ และทักษะด้านสารสนเทศ สื่อและเทคโนโลยี อยู่ในระดับดีขึ้น
กระบวนการดำเนินงาน
ใช้หลักการทำงานตามกระบวนการ PDCA
1. P คือ การวางแผน (Plan) การทำงาน
ประชุมคณะครูทั้งหมด คัดเลือกกิจกรรมในโครงการตามพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เพื่อจัดการเรียนรู้บูรณาการ STEM ศึกษา จัดทำแผนการจัดการเรียนรู้บูรณาการ การปลูกข้าวในบ่อซีเมนต์
2. D คือ การลงมือทำ (Do)
ดำเนินการจัดการเรียนรู้ตามแผน ซึ่งใช้หลักการสอนของ STEM ดังนี้
ขั้นที่ 1 ขั้นสร้างการมีส่วนร่วมและตรวจสอบความรู้เดิม เล่นเกม วาดรูป ปริศนาคำทาย ฯลฯ
ขั้นที่ 2 ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน ใช้คำถามกระตุ้นการคิดของนักเรียนนักเรียนสืบค้นข้อมูล วิธีแก้ปัญหา
จากสถานการณ์ดังกล่าว นักเรียนสืบค้นข้อมูล วิธีแก้ปัญหาจากสถานการณ์ดังกล่าว นำเสนอข้อมูลหลายทางเลือกได้ข้อตกลงร่วมกัน เลือกใช้ “การปลูกข้าวในบ่อซีเมนต์”นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ศึกษาข้อมูลจาก VDO ศึกษาหาข้อมูล / อภิปรายร่วมกัน
ขั้นที่ 3 ขั้นแก้ปัญหา รวบรวมหลักฐานการทดลองสภาพพื้นที่ในสวนเกษตรวัดพื้นที่ใช้ปลูกข้าวในบ่อซีเมนต์ ขนาด 30 X 7 เมตร แบ่งกลุ่มนักเรียน ศึกษาข้อมูล แต่ละกลุ่ม สืบค้นข้อมูล เขียนรายงาน คิดคำนวณออกแบบการวางบ่อซีเมนต์ ขนาดพื้นที่จริง ทุกกลุ่ม มีคุณครูพี่เลี้ยงประจำทุกกลุ่ม คิดคำนวณตามหลักคณิตศาสตร์ ใช้มาตราส่วนในการวาดแผนผัง หลังจากนั้นใช้โปรแกรม SketchUp ในการสร้างแผนผังสามมิติ
ขั้นที่ 4 ขั้นตอนอธิบาย แต่ละกลุ่มนำเสนอผลงาน มีการวาดแผนผังการวางบ่อที่แตกต่างกันออกไป ต้องหาข้อสรุปร่วมกัน “ถ้าลงมือปลูกจริงจะปรับใช้ การวางผังแบบใด”
ขั้นที่ 5 ขั้นนำไปใช้จริงลงมือปฏิบัติ และจัดกิจกรรมเสริม เช่น อาจจะทดลองปลูกข้าววิธีอื่น ๆ การจัดทำบัญชีรายรับ – รายจ่าย,บูรณาการกับวิชาอี่น ๆ
ขั้นที่ 6 ขั้นสรุปผลและประเมินผลการเรียนรู้
3. C คือ การตรวจสอบ งาน (Check)
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สามารถปลูกข้าวในบ่อซีเมนต์ได้สำเร็จ จำนวน 119 วง มีการแบ่งกลุ่ม
การดูแลบำรุงรักษา เพื่อเก็บเกี่ยวผลผลิต
4. A คือ การปรับปรุง แก้ไข งานให้ดีขึ้น (Act)
นักเรียนแต่ละกลุ่ม มีการบันทึกข้อมูลต่างๆ เพื่อใช้เป็นแนวทางปรับปรุง แก้ไข พัฒนาการจัดการเรียนรู้บูรณาการ STEM ศึกษา ในกิจกรรมต่อไป โดยมีคุณครูเป็นที่ปรึกษา หากปัญหาใดแก้ไขได้ ก็จะดำเนินการทันที
ผลการดำเนินงาน
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สามารถสืบค้นข้อมูล วิธีแก้ปัญหาจากสถานการณ์ที่กำหนดให้ นำเสนอ
ข้อมูลหลายทางเลือก มีการอภิปรายร่วมกัน จนได้ข้อตกลง เลือกใช้การวางผังและออกแบบระบบการปลูกข้าวในบ่อซีเมนต์ ที่เหมาะสม ลงมือปลูกข้าวในบ่อซีเมนต์ได้สำเร็จ จำนวน 119 วง
ประโยชน์ที่ได้รับและการเผยแพร่
นักเรียนได้รับการพัฒนาด้านต่างๆตามแนวทางการพัฒนาคนให้มีคุณภาพในศตวรรษที่ 21 ทุกคน
จะต้องเรียนรู้ตลอดชีวิต คือ การเรียนรู้ 3R x 7C 3 R ได้แก่ Reading (การอ่าน), การเขียน(Writing) และ คณิตศาสตร์ (Arithmetic) และ 4 C (Critical Thinking การคิดวิเคราะห์, Communication การสื่อสาร Collaboration การร่วมมือ และ Creativity ความคิดสร้างสรรค์ มีทักษะชีวิต ทักษะอาชีพ ทักษะด้านสารสนเทศ สื่อและเทคโนโลยี
และมีการเผยแพร่ทางอินเทอร์เนต ดังนี้
– http://www.santayaram.ac.th/
– http://psschool.obec.go.th/?p=1187
– https://lekratiporn.wordpress.com/2013/08/04/stem-education/
– https://web.facebook.com/santayaram/?fref=ts
ปัจจัยความสำเร็จ
1. นักเรียนให้ความสนใจ ตั้งใจ ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบบูรณาการ STEM มาก เนื่องจากเป็นกิจกรรมที่นักเรียนต้องลงมือปฏิบัติด้วยตนเองตลอดเวลา อีกทั้งมีการนำเทคโนโลยีต่าง ๆ มาใช้ประกอบการจัดการเรียนรู้
2. ครูผู้สอนหลายท่าน มีความรู้เรื่องการจัดเรียนการรู้แบบบูรณาการ STEM เนื่องจากเข้ารับการอบรม อีกทั้งยังมีทักษะครูแห่งศตวรรษที่ 21 สามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ได้อย่างคล่องแคล่ว สามารถถ่ายทอดความรู้ในด้านการใช้โปรแกรมสำเร็จรูปต่าง ๆ มาประกอบการจัดการเรียนรู้ นอกจากนี้ ยังมีครูผู้สอนที่มีวุฒิความรู้ทางด้านวิศวกรรมโดยตรง สามารถเป็นที่ปรึกษาได้ดีให้กับครูท่านอื่นและนักเรียน
3. ผู้บริหาร ให้การสนับสนุนทุกด้าน และเห็นความสำคัญของการพัฒนาผู้เรียน ในเรื่องการฝึกทักษะการคิดด้านต่าง ๆ
4. โรงเรียนเป็นโรงเรียนในโครงการตามพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ซึ่งต้องดำเนินกิจกรรมตาม 6 วัตถุประสงค์หลัก ทำให้สามารถจัดกิจกรรมแบบบูรณาการได้ดี
5.ชุมชนและหน่วยงานอื่นให้ความสนใจมาศึกษาดูงานบ่อยครั้งอีกทั้งยังมีการเผยแพร่ทางอินเทอร์เนต
ทำให้เป็นที่แพร่หลาย
ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ
1. นักเรียนส่วนใหญ่ ขาดทักษะพื้นฐานการคิดคำนวณ และการประยุกต์ใช้ความรู้ด้านคณิตศาสตร์
ทำให้ต้องแก้ไขงานบ่อยครั้ง
2. เครื่องคอมพิวเตอร์ไม่เพียงพอต่อการจัดการเรียนรู้ และฝึกใช้โปรแกรมต่างๆ
3. โรงเรียนขาดบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถด้านการเกษตร
4. งบประมาณในการจัดกิจกรรมมีไม่เพียงพอ
แนวทางการพัฒนาต่อเนื่อง
1. จัดกิจกรรมเสริมเช่น อาจจะทดลองปลูกข้าววิธีอื่น ๆ การจัดทำบัญชีรายรับ – รายจ่าย,บูรณาการกับวิชาอี่น ๆ
2. โรงเรียนอยู่ในระหว่างการดำเนินการจัดการเรียนการสอนบูรณาการ STEM ดังนี้
การปลูกผักในบ่อ โดย นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/1
การปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ โดย นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/2
การเลี้ยงไก่ไข่ โดย นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/1
การเลี้ยงปลา โดย นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/2
เอกสารอ้างอิง
http://www.santayaram.ac.th/
https://lekratiporn.wordpress.com/2013/08/04/stem-education/
https://web.facebook.com/santayaram/?fref=ts
http://www.qlf.or.th/home/Contents/417
http://www.nano.kmitl.ac.th/index.php/assurance/478-pdca.html