ชื่อผลงาน”แนวปฏิบัติที่ดี” “เรียนรู้ได้ อยู่ที่กายสมบูรณ์” ด้านที่ ๑ โภชนาการและสุขภาพอนามัย
แนวปฏิบัติที่ดีด้านที่๑ โภชนาการชื่อผลงาน”แนวปฏิบัติที่ดี”
“เรียนรู้ได้ อยู่ที่กายสมบูรณ์”
ด้านที่ ๑ โภชนาการและสุขภาพอนามัย
ผู้เสนอ นายเกรียงศักดิ์ โสดาภักดิ์
โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านป่าก่อ
สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา
จังหวัดอำนาจเจริญ
โทรศัพท์มือถือ 089-8449069
คำนำ
เอกสาร นำเสนอผลงาน เล่มนี้มีชื่อผลงาน“แนวปฏิบัติที่ดี” ….“เรียนรู้ได้ อยู่ที่กายสมบูรณ์” ได้รวบรวมการจัดกิจกรรมแนวปฏิบัติที่ดี ด้านที่ ๑ โภชนาการและสุขภาพอนามัย ได้จัด โภชนาการและสุขภาพอนามัยให้กับนักเรียนโดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อส่งเสริมนักเรียนให้มีสุขภาพอนามัยสมบูรณ์ตามวัย เพื่อให้นักเรียนได้มีอาหารที่ถูกสุขอนามัย/อาหารเสริม (นม) กินอย่างพอเพียงระหว่างเรียนรวมทั้งนักเรียน ที่ขาดแคลน เพื่อเป็นการส่งเสริมการเรียนรู้ของนักเรียนให้เอื้อต่อการเรียนรู้มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ตามเป้าประสงค์
เพื่อความสะดวกของคณะกรรมการในการคัดเลือกผลงาน “แนวปฏิบัติที่ดี ” หวังว่าคงจะเป็นประโยชน์ทางการศึกษาต่อเยาวชนต่อไป
นายเกรียงศักดิ์ โสดาภักดิ์
ผู้นำเสนอผลงาน
สารบัญ
เรื่อง หน้า
บทคัดย่อ ๑
๑.ความสำคัญของ “แนวการปฏิบัติที่ดี” ๒
๒.จุดประสงค์/เป้าหมายของการดำเนินงาน “แนวการปฏิบัติที่ดี” ๒
๓.กระบวนการหรือขั้นตอนการดำเนินงาน ๓
๔.ผลการดำเนินการ/ผลสัมฤทธิ์/ประโยชน์ที่ได้รับ ๔
๕.ปัจจัยความสำเร็จ ๔
๖.การเผยแพร่/การได้รับการยอมรับ/และความภาคภูมิใจ ๔
๗.ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ ๔
ภาคผนวก ๕
รูปภาพประกอบ
เกียรติบัตร
บทคัดย่อ
ชื่อผลงาน”แนวปฏิบัติที่ดี” : “เรียนรู้ได้ อยู่ที่กายสมบูรณ์”
ด้านที่ ๑ : โภชนาการและสุขภาพอนามัย
โรงเรียน : ตำรวจตระเวนชายแดนบ้านป่าก่อ อำเภอชานุมาน จังหวัดอำนาจเจริญ
ผู้บริหาร : นายเกรียงศักดิ์ โสดาภักดิ์
แนวปฏิบัติที่ดี ด้านที่ ๑ โภชนาการและสุขภาพอนามัย ได้จัด โภชนาการและสุขภาพอนามัยให้กับนักเรียนโดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อส่งเสริมนักเรียนให้มีสุขภาพอนามัยสมบูรณ์ตามวัย เพื่อให้นักเรียนได้มีอาหารที่ถูกสุขอนามัย/อาหารเสริม (นม) กินอย่างพอเพียงระหว่างเรียนรวมทั้งนักเรียนที่ขาดแคลน เพื่อเป็นการส่งเสริมการเรียนรู้ของนักเรียนให้เอื้อต่อการเรียนรู้มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ตามเป้าประสงค์
โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านป่าก่อ ตำบลป่าก่อ อำเภอชานุมาน จังหวัดอำนาจเจริญ มีนักเรียนที่มีปัญหาด้านครอบครัว หย่าร้าง / เยาวชนแต่งงานกัน ปล่อยให้ปู่ย่า ตายาย ลุงป้า น้าอา เลี้ยง ทำให้เศรษฐกิจไม่ดี ซ้ำยังขาดแคลนอาหาร ผู้บริหาร คณะครูและบุคลากรทุกคนจึงมองเห็นปัญหา และได้คิดหาทางแก้ไข ในจุดนี้ ด้วยการ จัดแนวปฏิบัติที่ดี…“เรียนรู้ได้ อยู่ที่กายสมบูรณ์”
ผลแนวปฏิบัติที่ดี พบว่า : นักเรียนโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านป่าก่อ ตำบลป่าก่อ อำเภอชานุมาน จังหวัดอำนาจเจริญ จำนวน ๒๒๗ คน ร้อยละ ๙๕ มีสุขภาพอนามัยสมบูรณ์ตามวัย มีอาหารที่ถูกสุขอนามัย/อาหารเสริม (นม) กินอย่างพอเพียงระหว่างเรียนรวมทั้งนักเรียนที่ขาดแคลน และมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตามเป้าประสงค์
๑. ความสำคัญของ “แนวปฏิบัติที่ดี”
โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านป่าก่อ ตำบลป่าก่อ อำเภอชานุมาน จังหวัดอำนาจเจริญ มีนักเรียนที่มีปัญหาด้านครอบครัว หย่าร้าง / เยาวชนแต่งงานกัน ปล่อยให้ปู่ย่า ตายาย ลุงป้า น้าอา เลี้ยง ทำให้เศรษฐกิจไม่ดี ซ้ำยังขาดแคลนอาหาร ผู้บริหาร คณะครูและบุคลากรทุกคนจึงมองเห็นปัญหา และได้คิดหาทางแก้ไข ในจุดนี้ ด้วยการ จัดแนวปฏิบัติที่ดี…“เรียนรู้ได้ อยู่ที่กายสมบูรณ์”
๒. จุดประสงค์/เป้าหมายของการดำเนินงาน “แนวปฏิบัติที่ดี”
๒.๑ เพื่อส่งเสริมนักเรียนให้มีสุขภาพอนามัยสมบูรณ์ตามวัย
๒.๒ เพื่อให้นักเรียนได้มีอาหารที่ถูกสุขอนามัย/อาหารเสริม (นม) กินอย่างพอเพียงระหว่างเรียน
รวมทั้งนักเรียนที่ขาดแคลน
๒.๓ เพื่อเป็นการส่งเสริมการเรียนรู้ของนักเรียนให้เอื้อต่อการเรียนรู้มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
ตามเป้าประสงค์
๓. กระบวนการหรือขั้นตอนการดำเนินงาน
“เรียนรู้ได้ อยู่ที่กายสมบูรณ์”
โดย…โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านป่าก่อ อำเภอ ชานุมาน
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอำนาจเจริญ
ผังมโนทัศน์
(๓)
๔. ผลการดำเนินการ/ผลสัมฤทธิ์/ประโยชน์ที่ได้รับ
นักเรียนโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านป่าก่อ ตำบลป่าก่อ อำเภอชานุมาน จังหวัดอำนาจเจริญ จำนวน ๒๒๗ คน ร้อยละ ๙๕ มีสุขภาพอนามัยสมบูรณ์ตามวัย มีอาหารที่ถูกสุขอนามัย/อาหารเสริม (นม) กินอย่างพอเพียงระหว่างเรียน รวมทั้งนักเรียนที่ขาดแคลน ส่งผลให้มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตามเป้าประสงค์
๕. ปัจจัยความสำเร็จ
“เรียนได้ อยู่ที่กายสมบูรณ์” เป็นแนวปฏิบัติที่ดี ที่ได้รับความร่วมมือจากคณะกรรมการสถานศึกษาและผู้ปกครองช่วยปรุงอาหารให้กับนักเรียนอย่างถูกสุขอนามัยได้คุณภาพ ได้รับความอนุเคราะห์จากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลป่าก่อ อบรมให้ความรู้การรักษาสุขภาพ/ด้านโภชนาการและสุขภาพอนามัย ทั้งผู้ปกครอง และ นักเรียน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลป่าก่อ ได้สานสัมพันธ์ทำความเข้าใจด้วยกัน ทุกฝ่ายในการปฏิบัติตนเองให้ถูกสุขอนามัย ทั้งนี้ยังได้รับความอนุเคราะห์จากสำนักงานสหกรณ์จังหวัดอำนาจเจริญได้มาเป็นที่ปรึกษาหรือพี่เลี้ยงให้กับนักเรียนในการจัดกิจกรรมสหกรณ์ในโรงเรียนดูแลให้ความรู้ด้านการจำหน่ายสินค้าที่ดีมีประโยชน์ต่อร่างกายอย่างต่อเนื่องตลอดมาทุกปีการศึกษา
๖. การเผยแพร่/การได้รับการยอมรับ/และความภาคภูมิใจ
ผลแนวปฏิบัติที่ดี พบว่า นักเรียนโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านป่าก่อ
ตำบลป่าก่อ อำเภอชานุมาน จังหวัดอำนาจเจริญ จำนวน ๒๒๗ คน ร้อยละ ๙๕ มีสุขภาพอนามัยสมบูรณ์ตามวัย ได้รับอาหารที่ถูกสุขอนามัย/อาหารเสริม (นม) กินอย่างพอเพียงระหว่างเรียนรวมทั้งนักเรียนที่ขาดแคลน มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตามเป้าประสงค์ ทั้งยังมีเงินเหลือจากซื้อขนมที่ไม่มีประโยชน์ รู้ออม รู้จักบันทึกรายรับรายจ่าย รู้จักบันทึกบัญชีในสหกรณ์นักเรียน สร้างความภูมิใจให้กับทุกฝ่าย ส่งผลให้ได้รับรางวัล (ภาคผนวก)
๗. ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ
อุปสรรค
๑. ครั้งแรกนักเรียนยังขาดความรู้ความเข้าใจในการบริโภคอาหารดีมีประโยชน์ จึงแก้ปัญหา ด้วยการประชุม แนะนำ ทำความเข้าใจกับนักเรียนทุกคนให้เห็นโทษและประโยชน์ของสารอาหารแต่ละชนิด
๒. ผู้ปกครองมักตามใจลูกหลานอยากกินอะไรก็จะซื้อให้ วิธีการแก้ปัญหา ประชุมทำความเข้าใจกับผู้ปกครอง ให้มองเห็นโทษและประโยชน์ของทุกสิ่งที่ซื้อให้ลูกหลานบริโภค
๓. นักเรียนยังไม่ยอมรับสหกรณ์ในโรงเรียนเพราะไม่มีขนมหรือน้ำอัดลมตามที่นักเรียนชอบยังคงไปซื้อนอกโรงเรียน วิธีการแก้ปัญหา ประชุม ทำความเข้าใจให้นักเรียนเห็นประโยชน์ของการจำหน่ายสินค้าที่ดีมีประโยชน์ต่อร่างกายคือหัวใจของสหกรณ์
ข้อเสนอแนะ : ควรมีแนวปฏิบัติที่ดี ด้วยการแนะนำให้นักเรียนรุ่นพี่ได้อธิบาย หรือเป็นพี่เลี้ยงให้กับรุ่นน้องต่อๆ ไป เป็นรุ่น ๆ จะทำให้นักเรียนหรือเยาวชนมีโภชนาการและสุขภาพอนามัยดี เป็นพลังที่ดีของชาติต่อไป
สำนักงานสหกรณ์จังหวัดเป็นที่ปรึกษาเป็นพี่เลี้ยงในการจัดกิจกรรมสหกรณ์ร้านค้าในโรงเรียนต่อเนื่องทุกปีการศึกษา
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลป่าก่อได้อบรมทั้งผู้ปกครอง /นักเรียนให้มีความรู้เข้าใจด้านโภชนาการและสุขภาพอนามัยที่ดี
นักเรียนมีความเข้าใจในการซื้อขนม/เครื่องดื่มที่มีประโยชน์ต่อร่างกายเห็นคุณค่าของกิจการสหกรณ์ในโรงเรียน
นักเรียนมีส่วนร่วมในการตรวจคุณภาพของอาหารกลางวันและได้รับความอนุเคราะห์จากผู้ปกครองช่วยประกอบอาหาร