(Best Practices) “๑ โรงเรียน ๑ อาชีพ ๑ ผลิตภัณฑ์” โครงงานฝึกอาชีพ “สืบสานงานแทงหยวก”
ด้านวัฒนธรรม
โรงเรียนบ้านทำเนียบ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเขต 1
คุณครูที่ปรึกษาโครงงาน ครูนิภา แก้วทอง /ครูกุลธิดา แก้วทอง
บทคัดย่อ
งานแทงหยวก เป็นวิชาความรู้ที่ถ่ายทอดกันมาตั้งแต่อดีตโดยใช้วัสดุที่หาง่าย คือ ต้นกล้วย มาสร้างงานฝีมือ ซึ่งมักใช้มาประดับตกแต่งกรอบรูป ป้ายต่าง ๆ โดยใช้หยวกกล้วยหรือต้นกล้วยลอกออกเป็นแผ่น เรียกว่า กาบกล้วย แล้วใช้มีดแทงหยวก ภาษาช่างเรียก “มีดหางหนู”
โครงงานอาชีพเป็นการจัดการเรียนรู้งานอาชีพให้ผู้เรียนได้ปฏิบัติจริง ตั้งแต่การวิเคราะห์ วางแผน การปฏิบัติ การจัดการกับผลผลิต การจำหน่าย การบริการ รวมทั้งรายได้จากการจำหน่ายผลผลิต การจัดทำบัญชีรายรับ – รายจ่าย และใช้เทคโนโลยีในการปฏิบัติงาน และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันอย่างยืนสืบไป
ความเป็นมา / หลักการและเหตุผล
เนื่องจากกลุ่มของข้าพเจ้า มีความสนใจในเรื่องงานแทงหยวกกล้วย เพราะเมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ได้เสด็จเยี่ยม โรงเรียนเป็นครั้งที่ 3 ทางโรงเรียนได้จัดทำกรอบป้ายรายงานผลการดำเนินงานเป็นงานแทงหยวก ซึ่งครูภูมิปัญญาท้องถิ่นจากจังหวัดอ่างทอง และภูมิปัญญาท้องถิ่นในตำบลได้กรุณามาช่วยกันจัดทำกรอบป้าย ทำให้มีความแปลกตาและสวยงาม องค์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ได้ตรัสชื่นชมว่า แทงหยวกได้สวยงามมาก ทรงตรัสให้อนุรักษ์สืบสานต่อไป
โรงเรียนของเราตั้งอยู่หมู่ที่ 6 ตำบลลำภู อำเภอเมืองนราธิวาส จังหวัดนราธิวาส มีสภาพแวดล้อมเป็นที่ราบลุ่ม มีแปลงนารอบบริเวณโรงเรียน ผู้ปกครองส่วนใหญ่มีอาชีพทำนา และทำสวน ได้เข้าร่วมเป็นโรงเรียนในโครงการพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดารตามพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ตั้งแต่ พ.ศ. 2536 และได้มีการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการ รวมทั้งได้น้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการจัดกระบวนการเรียนการสอน และเป็นแนวทางให้นักเรียนได้ปฏิบัติจริง เพื่อมุ่ง สู่อนาคตที่มั่นคง เป็นการอนุรักษ์สืบทอดภูมิปัญญาไทยและภูมิปัญญาท้องถิ่นอย่างยั่งยืนและมีความสุข
ดังนั้น กลุ่มของข้าพเจ้าจึงได้จัดทำโครงงานนี้ เพื่อเพื่อนนักเรียน ผู้ปกครอง ตลอดจนผู้เกี่ยวข้องได้เห็นความสำคัญ และตระหนักของโครงงานฝึกอาชีพ “สืบสานงานแทงหยวก” (ผสมผสานหลากหลายแบบครบวงจร) ได้สืบไป
จุดมุ่งหมาย / วัตถุประสงค์
– เพื่อให้มีความรู้ในกระบวนการปฏิบัติงานได้
– เพื่อให้มีความภาคภูมิใจในตนเอง / ภูมิปัญญาท้องถิ่นตนเอง / ภูมิปัญญาไทย
– เพื่อมีผลผลิตในโรงเรียนซึ่งนำมาประยุกต์ใช้กับเทคโนโลยีสมัยใหม่ได้
– สามารถทำบัญชี รายรับ – รายจ่าย ได้
– สามารถนำกระบวนการ / วิธีการ ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน สร้างรายได้ให้กับตนเอง/ครอบครัว ในอนาคตได้
วิธีการดำเนินงาน
การศึกษาโครงงานอาชีพ สืบสานงานแทงหยวก (ผสมผสานหลากหลายแบบครบวงจร) คณะผู้จัดทำได้ดำเนินการตามขั้นตอน ดังนี้
– ขั้นศึกษาเอกสารเสริมหลักสูตรสืบสานมรดกวัฒนธรรมภูมิปัญญาไทย
– ศึกษาความรู้เกี่ยวกับการแทงหยวกจากภูมิปัญญาท้องถิ่น
ขั้นตอนการปฏิบัติงาน
– ศึกษาข้อมูล
– ปรึกษาคุณครู / ผู้มีประสบการณ์ / ผู้ทรงคุณวุฒิ
– เขียนโครงการเพื่อระดมทุน
– ประชุมปรึกษาหารือกัน
– ปฏิบัติกิจกรรม
– รายงานสรุปผล
เป้าหมาย
เชิงปริมาณ – จำนวนนักเรียน คณะครู / ผู้เกี่ยวข้อง 145 คน
เชิงคุณภาพ – นักเรียน คณะครู / ผู้สนับสนุน มีความตระหนักและภาคภูมิใจในผลงานของตนเองและภูมิปัญญาไทย
ผลการดำเนินงานและการนำไปใช้
มีความรู้เกี่ยวกับการเตรียมการปลูกกล้วย การดูแลรักษา การนำส่วนต่างๆ ของหยวกกล้วยมาใช้ในงานแทงหยวก และปรับปรุงพัฒนางาน ประยุกต์เป็นผลิตภัณฑ์ โดยใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ มาใช้ในโรงเรียน และสามารถนำเป็นรายได้และเผยแพร่สืบสานต่อไป
ปัญหาและอุปสรรค
– มีดสำหรับแทงหยวกหรือมีดหางหนูไม่มีขายตามท้องตลาด ต้องสั่งทำ
– ในการเลือกกล้วย บางฤดูกาลกล้วยจะเป็นโรครากเน่า
– หยวกจะเสียเร็วภายใน 3-5 วัน
ข้อเสนอแนะและแนวทางในการพัฒนา
– เรียนรู้วิธีการปลูก / ดูแลรักษากล้วยให้สมบูรณ์
– ส่งเสริมกิจกรรม,งานพิธีการ,งานประเพณื เช่น งานแต่งงาน งานรดน้ำผู้สูงอายุ งานบวชนาค งานเข้าสุหนัต และงานมงคลต่างๆ โดยใช้ศิลปะการแทงหยวกให้มากขึ้น
– จัดกิจกรรมเพื่อคนรุ่นหลังได้ฝึกและตระหนักโดยใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่เพื่อเพิ่มมูลค่า
– ทดลองใช้เกลือ / น้ำสารส้มแกว่ง จะยืดอายุหยวกกล้วยได้นานกว่า
บทที่ ๕ สรุป อภิปราย ข้อเสนอแนะ
กระบวนการเรียนรู้แบบโครงงานฝึกอาชีพ
แบบบันทึกข้อมูลพื้นฐานจำโรงเรียน