ชื่อผลงาน “แนวปฏิบัติที่ดี” “วัฒนธรรมท้องถิ่น ไม่ทิ้งควรอนุรักษ์” ด้านที่ ๕ การอนุรักษ์วัฒนธรรมท้องถิ่น
ชื่อผลงาน “แนวปฏิบัติที่ดี”
“วัฒนธรรมท้องถิ่น ไม่ทิ้งควรอนุรักษ์”
ด้านที่ ๕ การอนุรักษ์วัฒนธรรมท้องถิ่น
ผู้เสนอ นายเกรียงศักดิ์ โสดาภักดิ์
โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านป่าก่อ
สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา
จังหวัดอำนาจเจริญ
โทรศัพท์มือถือ 089-8449069
คำนำ
เอกสาร นำเสนอผลงาน เล่มนี้มีชื่อผลงาน“แนวปฏิบัติที่ดี”… “วัฒนธรรมท้องถิ่น ไม่ทิ้งควรอนุรักษ์” ได้รวบรวมการจัดกิจกรรมแนวปฏิบัติที่ดี ด้านที่ ๕ การอนุรักษ์วัฒนธรรมท้องถิ่น ได้จัด กิจกรรมการอนุรักษ์วัฒนธรรมท้องถิ่นให้กับนักเรียนโดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อสร้างความตระหนักให้นักเรียนเห็นคุณค่าของวัฒนธรรมท้องถิ่นอันมีค่าของตนเอง เพื่อส่งเสริมสนับสนุนให้นักเรียนได้แสดงออกถึงความสามารถ หรือพรสวรรค์ของตนเองอย่างสร้างสรรค์
เพื่อความสะดวกของคณะกรรมการในการคัดเลือกผลงาน “แนวปฏิบัติที่ดี ” หวังว่าคงจะเป็นประโยชน์ทางการศึกษาต่อเยาวชนต่อไป
นายเกรียงศักดิ์ โสดาภักดิ์
ผู้นำเสนอผลงาน
สารบัญ
เรื่อง หน้า
บทคัดย่อ ๑
๑.ความสำคัญของ “แนวการปฏิบัติที่ดี” ๒
๒.จุดประสงค์/เป้าหมายของการดำเนินงาน “แนวการปฏิบัติที่ดี” ๒
๓.กระบวนการหรือขั้นตอนการดำเนินงาน ๓
๔.ผลการดำเนินการ/ผลสัมฤทธิ์/ประโยชน์ที่ได้รับ ๔
๕.ปัจจัยความสำเร็จ ๔
๖.การเผยแพร่/การได้รับการยอมรับ/และความภาคภูมิใจ ๔
๗.ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ ๔
ภาคผนวก ๕
รูปภาพประกอบ
เกียรติบัตร
บทคัดย่อ
ชื่อผลงาน”แนวปฏิบัติที่ดี” : “วัฒนธรรมท้องถิ่น ไม่ทิ้งควรอนุรักษ์”
ด้านที่ ๕ : การอนุรักษ์วัฒนธรรมท้องถิ่น
โรงเรียน : ตำรวจตระเวนชายแดนบ้านป่าก่อ อำเภอ ชานุมาน จังหวัดอำนาจเจริญ
ผู้บริหาร : นายเกรียงศักดิ์ โสดาภักดิ์
แนวปฏิบัติที่ดี ด้านที่ ๕ การอนุรักษ์วัฒนธรรมท้องถิ่น ได้จัด กิจกรรมการอนุรักษ์วัฒนธรรมท้องถิ่นให้กับนักเรียนโดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อสร้างความตระหนักให้นักเรียนเห็นคุณค่าของวัฒนธรรมท้องถิ่นอันมีค่าของตนเอง เพื่อส่งเสริมสนับสนุนให้นักเรียนได้แสดงออกถึงความสามารถ หรือพรสวรรค์ของตนเองอย่างสร้างสรรค์ โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านป่าก่อ ตำบลป่าก่อ อำเภอชานุมาน จังหวัดอำนาจเจริญ มีผู้ปกครอง หรือชุมชนที่มีความเชี่ยวชาญด้านศิลปะ /ดนตรี /หมอลำ/ เป่าแคน ฯ แต่ทำไมนักเรียนหรือเยาวชนรุ่นใหม่มักจะมองข้ามกลับไปเห็นความสำคัญของวัฒนธรรมต่างชาติมากกว่ามีค่านิยมที่ผิดคิดว่าเป็นวัฒนธรรมเก่าล้าสมัย ผู้บริหาร คณะครูและบุคลากรทุกคนจึงมองเห็นปัญหา และได้คิดหาทางแก้ไข ในจุดนี้ ด้วยการ จัดแนวปฏิบัติที่ดี… “วัฒนธรรมท้องถิ่น ไม่ทิ้งควรอนุรักษ์”
ผลแนวปฏิบัติที่ดี พบว่า : นักเรียนโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านป่าก่อ ตำบลป่าก่อ อำเภอชานุมาน จังหวัดอำนาจเจริญ จำนวน ๒๒๗ คน ร้อยละ ๗๕ เห็นคุณค่าของวัฒนธรรมท้องถิ่น อันมีค่าของตนเอง กล้าแสดงออกถึงความสามารถหรือพรสวรรค์ของตนเองอย่างสร้างสรรค์
๑. ความสำคัญของ “แนวปฏิบัติที่ดี”
โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านป่าก่อ ตำบลป่าก่อ อำเภอชานุมาน จังหวัดอำนาจเจริญ มีผู้ปกครอง หรือชุมชนที่มีความเชี่ยวชาญด้านศิลปะ /ดนตรี /หมอลำ/ เป่าแคน ฯ แต่ทำไมนักเรียนหรือเยาวชนรุ่นใหม่มักจะมองข้ามกลับไปเห็นความสำคัญของวัฒนธรรมต่างชาติมากกว่า มีค่านิยมที่ผิดคิดว่าเป็นวัฒนธรรมเก่าล้าสมัย ผู้บริหาร คณะครูและบุคลากรทุกคนจึงมองเห็นปัญหา และได้คิดหาทางแก้ไข ในจุดนี้ ด้วยการ จัดแนวปฏิบัติที่ดี… “วัฒนธรรมท้องถิ่น ไม่ทิ้งควรอนุรักษ์”
๒. จุดประสงค์/เป้าหมายของการดำเนินงาน “แนวปฏิบัติที่ดี”
๒.๑ เพื่อสร้างความตระหนักให้นักเรียนเห็นคุณค่าของวัฒนธรรมท้องถิ่นอันมีค่าของตนเอง
๒.๒ เพื่อส่งเสริมสนับสนุนให้นักเรียนได้แสดงออกถึงความสามารถหรือพรสวรรค์ของตนเอง
อย่างสร้างสรรค์
๓. กระบวนการหรือขั้นตอนการดำเนินงาน
“วัฒนธรรมท้องถิ่น ไม่ทิ้งควรอนุรักษ์”
โดย…โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านป่าก่อ อำเภอ ชานุมาน
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอำนาจเจริญ
ผังมโนทัศน์
(๓)
๔. ผลการดำเนินการ/ผลสัมฤทธิ์/ประโยชน์ที่ได้รับ
นักเรียนโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านป่าก่อ ตำบลป่าก่อ อำเภอชานุมาน จังหวัดอำนาจเจริญ จำนวน ๒๒๗ คน ร้อยละ ๗๕ เห็นคุณค่าของวัฒนธรรมท้องถิ่นอันมีค่าของตนเอง กล้าแสดงออกถึงความสามารถหรือพรสวรรค์ของตนเองอย่างสร้างสรรค์ สามารถนำศิลปะ วัฒนธรรมท้องถิ่นไปใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างภาคภูมิใจเช่น วันสำคัญต่าง ๆ เป็นต้น สร้างความภาคภูมิใจให้กับผู้ปกครอง และยังทำให้นักเรียนมีรายได้เสริมระหว่างเรียน
๕. ปัจจัยความสำเร็จ
“วัฒนธรรมท้องถิ่น ไม่ทิ้งควรอนุรักษ์” เป็นแนวปฏิบัติที่ดี จัดกิจกรรมส่งเสริมให้นักเรียน
เห็นคุณค่าของวัฒนธรรมท้องถิ่นอันมีค่าของตนเอง กล้าแสดงออกถึงความสามารถหรือพรสวรรค์ของตนเอง
อย่างสร้างสรรค์ ด้วยความร่วมมือจาก ผู้บริหาร คณะครู ผู้ปกครอง ผู้ใหญ่ ทุกท่านให้ความสำคัญ สนับสนุน ส่งเสริม โดยเฉพาะ ผู้บริหารโรงเรียนได้เล็งเห็น การเรียนรู้ที่เน้นปลูกจิตสำนึกให้นักเรียนเห็นความสำคัญของวัฒนธรรมท้องถิ่น จึงได้ขอความอนุเคราะห์จากผู้ปกครองจิตอาสา และคณะครูอาจารย์ รุ่นพี่จากโรงเรียนอนุกูลนารีจังหวัดกาฬสินธุ์ มาฝึกสอนการเล่นโปงลางทั้งวงพร้อมนางรำ ให้กับนักเรียน ครูยุทธวัช แก้วเกิด ฝึกสอนพื้นฐานการเล่นโปงลาง ทำให้นักเรียนเริ่มให้ความสำคัญวัฒนธรรมท้องถิ่น จึงได้เสนอให้มีการจัดแนวปฏิบัติที่ดีให้นักเรียนได้มีเวทีแสดงออกอย่างสร้างสรรค์ต่อไป
๖. การเผยแพร่/การได้รับการยอมรับ/และความภาคภูมิใจ
ผลแนวปฏิบัติที่ดี พบว่า นักเรียนโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านป่าก่อ
ตำบลป่าก่อ อำเภอชานุมาน จังหวัดอำนาจเจริญ จำนวน ๒๒๗คน ร้อยละ ๗๕ เห็นคุณค่าของวัฒนธรรมท้องถิ่นอันมีค่าของตนเอง กล้าแสดงออกถึงความสามารถหรือพรสวรรค์ของตนเอง อย่างสร้างสรรค์
ได้รับการยอมรับจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องอย่างภาคภูมิใจ
๗. ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ
อุปสรรค
๑. นักเรียนไม่กล้าแสดงออกถึงความสามารถพื้นฐานที่ตนมีอยู่ จึงแก้ปัญหา ด้วยการพูดเสริมให้กำลังใจยกตัวอย่างบุคคลใกล้ตัวที่ประสบผลสำเร็จ
๒. นักเรียนรุ่นพี่ที่มีทักษะไม่อยากฝึกสอนรุ่นน้อง วิธีการแก้ปัญหา พูดทำความเข้าใจให้ ทุกคนได้เห็นความสำคัญของการสืบทอดวัฒนธรรมท้องถิ่น
๓. ขาดงบประมาณในการจัดซื้อหรือซ่อมเครื่องดนตรีและชุดนางรำ วิธีการแก้ปัญหา ได้ขอความอนุเคราะห์จากโรงเรียนอนุกูลนารีจังหวัดกาฬสินธุ์
ข้อเสนอแนะ : หากมีแนวปฏิบัติที่ดี ด้วยการให้นักเรียนได้มีโอกาสแสดงออกถึงความสามารถในการรักษาวัฒนธรรมท้องถิ่นอย่างต่อเนื่องคงทำให้นักเรียนมีจิตสำนึกรักษ์วัฒนธรรมท้องถิ่นไว้สืบไป
นักเรียนมีจิตสำนึกรักษ์วัฒนธรรมท้องถิ่น /ศิลปะท้องถิ่นด้วยการฝึกซ้อมโปงลางตามพี่อนุกูลนารีสอน
นักเรียนได้แสดงออกถึงความสามารถหรือพรสวรรค์ของตนเอง อย่างสร้างสรรค์
นักเรียนกล้าแสดงออกเนื่องในวันสำคัญต่างๆ เช่นวันแม่แห่งชาติ เป็นต้น