โครงการสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่นงานศิลป์วัฒนธรรม
การนำเสนอผลงาน “แนวปฏิบัติที่ดี”
การดำเนินงานการพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร ตามพระราชดำริ
สมเด็ดพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
ปีพุทธศักราช ๒๕๖๐
_________________________
ชื่อผลงาน “แนวปฏิบัติที่ดี” โครงการสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่นงานศิลป์วัฒนธรรม
ประเภทที่ ๑ : โรงเรียนมีวิธีปฏิบัติที่ดีเป็นรายด้าน
ด้านที่ ๕ การอนุรักษ์วัฒนธรรมท้องถิ่น
———————————————————————————————————————————-
โรงเรียน………………………ขุนยวมวิทยา………………………………………………………………………………………………….
อำเภอ…………………..ขุนยวม……………………..จังหวัด…………………….แม่ฮ่องสอน……………………………………….
สังกัด…………….สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต..๓๔……………………………………………………………..
โทรศัพท์…………………๐…๕๓๖๙…๑๑๐๗……………….โทรสาร……………….๐…๕๓๖๙…๑๑๐๗…………………….
เว็บไซต์………….…http://www.khunyuam.ac.th/………………………………………………………………………………..
ชื่อ-สกุล ผู้เสนอผลงาน………นายณัฐพงศ์…โพธิวงค์…ตำแหน่ง…ครู…คศ.1…โรงเรียนขุนยวมวิทยา………………..
โทรศัพท์มือถือ…………๐๘…๐๑๓๔…๙๖๔๒…………E-mail…:…Cmbear2531@gmail.com…………………………..
๑. บทคัดย่อ
โรงเรียนขุนยวมวิทยา มีการเปิดโอกาสให้นักเรียน ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการสืบสานศิลปวัฒนธรรม และภูมิปัญญาท้องถิ่น ซึ่งประกอบด้วย กิจกรรมหลัก ๓ กิจกรรม และมีวัตถุประสงค์ในการดำเนินการ ดังนี้ ๑. เพื่อให้นักเรียนมีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับภูมิปัญญาท้องถิ่น ๒. เพื่อให้ปลูกฝังให้นักเรียนตระหนักถึงความสำคัญของภูมิปัญญาท้องถิ่น ๓. เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์สืบสานภูมิปัญญาท้อง และ ๔. เพื่อให้นักเรียนสามารถนำภูมิปัญญาท้องถิ่นนำไปปรับใช้ให้เกิดประโยชน์แก่ตนและส่วนรวมในการดำเนินกิจกรรมจะเน้นการทำงานที่เป็นระบบ วงจร PDCA โดยมีการจัดทำข้อเสนอแนะในการปรับปรุงและพัฒนากิจกรรมต่าง ๆ ที่จะดำเนินการในครั้งต่อไป จากความร่วมมือในการดำเนินงานกิจกรรม ส่งผลให้นักเรียนร้อยละ ๑๐๐ ที่เข้าร่วมโครงการมีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับภูมิปัญญาท้องถิ่นในแต่ละด้าน ตระหนักถึงความสำคัญของภูมิปัญญาท้องถิ่น สามารถบอกเล่าถึงความสำคัญเพื่อการดำรงอยู่ของภูมิปัญญาท้องถิ่นของตนเอง อาทิ การประดิษฐ์จองพารา การต้องลายสังกะสี การตีกลองสะบัดชัย การตีกลองปู่เจ่ การบรรเลงดนตรีพื้นบ้านล้านนา วงสะล้อซอซึง เป็นต้น และมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์สืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่นในด้านต่างๆ อย่างต่อเนื่องรวมทั้งสามารถนำภูมิปัญญาท้องถิ่นนำไปปรับใช้ให้เกิดประโยชน์แก่ตนและส่วนรวม มีทักษะการทำงานเพื่อใช้ในการประกอบอาชีพในอนาคตได้ ทั้งนี้โรงเรียนมีผลงานด้านการสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่นงานศิลป์วัฒนธรรม ได้รับรางวัลจากองค์กร หน่วยงานทั้งภายในและภายนอก จนเป็นที่ยอมรับของชุมชน และผู้ที่สนใจ ส่งผลให้เกิดการพัฒนางานอย่างเป็นระบบต่อเนื่องและยั่งยืน
๒. ความสำคัญของ “โครงการสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่นงานศิลป์วัฒนธรรม”
โครงการพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดารตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เป็นโครงการเพื่อช่วยเหลือนักเรียนที่อยู่ในถิ่นทุรกันดารซึ่งประสบความขาดแคลนในหลายๆ ด้าน ทรงมุ่งเน้นให้เด็กและเยาวชนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนา โดยใช้การศึกษาเป็นหลักในการทำงานพัฒนา สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงตระหนักถึง การพัฒนาคุณภาพการศึกษา โดยเฉพาะเด็กละเยาวชนยังไม่ได้รับการพัฒนาอย่างเต็มศักยภาพ ทั้งนี้เนื่องมาจากปัจจัยหลายๆด้าน ทั้งจำนวนครูที่ไม่เพียงพอกับจำนวนนักเรียน โดยเฉพาะในท้องถิ่นห่างไกล ข้อจำกัดในเรื่องความรู้ความสามารถของครู วิธีการเรียนการสอน อุปกรณ์และสื่อการเรียนการสอน และมีพระราชประสงค์ที่จะส่งเสริมให้เด็กและเยาวชนได้รับโอกาสทางการศึกษาอย่างมีคุณภาพเท่าเทียมกัน
การศึกษาเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น เป็นอีกหนึ่งวัตถุประสงค์ในโครงการพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดารตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เพื่อปลูกฝังให้เด็กและเยาวชนตระหนักถึงความสำคัญของภูมิปัญญาท้องถิ่น รู้จักใช้ภูมิปัญญาในท้องถิ่นให้เกิดประโยชน์แก่ตนและส่วนรวม พร้อมทั้งร่วมกันอนุรักษ์สืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่น และสิ่งสำคัญคือมีความรักและหวงแหนในแผ่นดินเกิดโครงการสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่นงานศิลป์วัฒนธรรมยังตอบสนอง พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๕ หมวดที่ ๔ ว่าด้วยแนวทางการจัดการศึกษามาตรา ๒๙ กำหนดให้สถานศึกษาร่วมกับบุคคล ครอบครัว ชุมชน องค์กรชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เอกชน องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา สถานประกอบการ และสถาบันสังคมอื่น ส่งเสริมความเข้มแข็งของชุมชน โดยจัดกระบวนการเรียนรู้ภายในชุมชน เพื่อให้ชุมชนมีการจัดการศึกษา อบรม มีการแสวงหาความรู้ ข้อมูล ข่าวสาร และรู้จักเลือกสรร ภูมิปัญญาและวิทยาการต่าง ๆ เพื่อพัฒนาชุมชนให้สอดคล้องกับสภาพปัญหาและความต้องการ รวมทั้งหาวิธีการสนับสนุนให้มีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์การพัฒนาระหว่างชุมชน สถานศึกษาจึงจัดให้มีโครงการ “พัฒนาและส่งเสริมให้สถานศึกษาเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้”
ด้วยเห็นถึงความสำคัญของภูมิปัญญาและบริบททางวัฒนธรรมประเพณีที่มีความหลากหลายในท้องถิ่น โรงเรียนขุนยวมวิทยา จึงจัดทำโครงการสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่นงานศิลป์วัฒนธรรมให้นักเรียนได้เรียนรู้ศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่นที่บรรพบุรุษได้สั่งสมจนเกิดเป็นองค์ความรู้อั้นล้ำค่า โดยศึกษาเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านต่างๆ ทั้งนี้โรงเรียนขุนยวมวิทยายังได้จัดทำหลักสูตรท้องถิ่นที่บูรณาการภูมิปัญญาท้องถิ่น เข้ากับการเรียนรู้ทั้ง ๘ กลุ่มสาระ เพื่อปลูกฝังให้นักเรียนตระหนักถึงความสำคัญของภูมิปัญญาท้องถิ่น มีความรู้ด้านภูมิปัญญาท้องถิ่นสามารถนำไปปรับใช้ให้เกิดประโยชน์แก่ตนและส่วนรวม พร้อมทั้งร่วมกันอนุรักษ์สืบสานภูมิปัญญาให้อยู่กับท้องถิ่นสืบไป
๓. จุดประสงค์ / เป้าหมายของการดำเนินงาน
๓.๑ เพื่อให้นักเรียนมีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น
๓.๒ เพื่อให้ปลูกฝังให้นักเรียนตระหนักถึงความสำคัญของศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น
๓.๓ เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์สืบสานศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น
๓.๔ เพื่อให้นักเรียนสามารถนำศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นนำไปปรับใช้ให้เกิดประโยชน์แก่ตนและส่วนรวม
เป้าหมาย
เชิงปริมาณ
๑. นักเรียน จำนวน ๑๕๐ คน
เชิงคุณภาพ
๑. นักเรียนที่เข้าร่วมกิจกรรม มีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น ตระหนักถึงความสำคัญ มีส่วนร่วมในการอนุรักษ์สืบสานศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น และสามารถนำไปปรับใช้ให้เกิดประโยชน์แก่ตนและส่วนรวม
๒. โรงเรียนสามารถเป็นแหล่งเรียนรู้ด้านศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น
๔. วิธีการ หรือ ขั้นตอนการปฏิบัติการ
ศูนย์การเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นโรงเรียนขุนยวมวิทยาได้ร่วมกันสร้างนวัตกรรมแห่งการเรียนรู้ ภูมิปัญญาท้องถิ่นในชุมชน “ท่องวิถีชุมชนบนเส้นทางภูมิปัญญา” โดยได้ดำเนินกิจกรรมตามขั้นตอนดังนี้
ขั้นเตรียมการ Plan
๑) ฝ่ายบริหาร คณะครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน คณะกรรมการนักเรียน ร่วมวางแผนการดำเนินงานสนองนโยบายในการพัฒนาโรงรียนให้เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ มุ่งปลูกฝังให้นักเรียนเห็นถึงความสำคัญและรู้รักในภูมิปัญญาวัฒนธรรมและประเพณีในท้องถิ่น และสนองวัตถุประสงค์ที่ ๖ เสริมสร้างศักยภาพของเด็กและเยาวชนในการอนุรักษ์และสืบทอดวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น (กพด.)
๒) แต่งตั้งคณะกรรมการดําเนินงาน
๓) ประชุมคณะกรรมการดําเนินงาน เพื่อศึกษาจัดทําโครงการและกําหนดกิจกรรมการเรียนรู้
ขั้นดําเนินการตามแผน Do
ดำเนินงานกิจกรรมโครงการตามกระบวนการเรียนรู้ “ลูกอ่อนไต” โมเดล
ขั้นที่ ๑ ร่วมพลังสรรสร้าง “ลูกอ่อนไต”
๑.๑ รับสมัครนักเรียนแกนนำเข้าร่วมกิจกรรมจำนวน ๓๐ คน
ขั้นที่ ๒ สืบสายใยในวิถีชุมชน
๒.๑ ให้นักเรียนแบ่งกลุ่มศึกษาเรียนรู้ภูมิปัญญา จำนวน ๓ กลุ่ม โดยให้นักเรียนแต่ละกลุ่มเลือกพื้นที่
ตำบลเพื่อเป็นแหล่งในการศึกษาเรียนรู้ภูมิปัญญาตามสนใจ กลุ่มละ ๑ ตำบล
๒.๒ นักเรียนแต่ละกลุ่มร่วมกันประชุมวางแผนในการทำกิจกรรม สืบค้นภูมิปัญญาตามวิถี
๒.๓ นักเรียนแต่ละกลุ่มลงพื้นที่สืบค้นแหล่งเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในชุมชน
๒.๔ นักเรียนแต่กลุ่มสรุปข้อมูลแล้วจัดทำทะเบียนแหล่งเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น และคัดเลือก
ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่โดดเด่น หรือควรแก่การเร่งอนุรักษ์ฟื้นฟู ๑ เรื่อง
๒.๕ นักเรียนแต่ละกลุ่มร่วมกันสร้างแผนผังเส้นทางการเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นของตน
๒.๖ นักเรียนแต่ละกลุ่มลงพื้นที่เรียนรู้ฝึกทักษะภูมิปัญญาท้องถิ่น และสร้างสรรค์ผลงาน
ภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยมีครูภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นผู้สอน
ขั้นที่ ๓ รวมพลสร้างองค์ความรู้
๓.๑ ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน โดยการกระจายสมาชิกในแต่กลุ่มไปร่วมกลุ่มใหม่ซึ่ง
มีสมาชิกในกลุ่มที่มาจากการศึกษาเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่แตกต่างกัน
๓.๒ ตัวแทนของแต่ละกลุ่มเล่าถึงประสบการณ์ที่ได้ลงพื้นที่ศึกษาเรียนรู้ เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนซึ่ง
กันและกัน
ขั้นที่ ๔ มุ่งสู่การอนุรักษ์สืบสาน
๔.๑ ร่วมกันจัดนิทรรศการนำเสนอผลงานการศึกษาเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในแต่ละสาขา
๔.๒ จัดกิจกรรม “กาดภูมิปัญญาฮักษาฮีตฮอย” เพื่อเปิดโอกาสให้นักเรียนแต่ละกลุ่มได้มีเวทีในการ
นำเสนอผลงานของตนเอง
๔.๓ นักเรียนที่มีความสนใจ(นักเรียนในโรงเรียน)เข้าศึกษาเรียนรู้ฐานกิจกรรรมตามสาขาภูมิปัญญา
ท้องถิ่นและเป็นการเผยแพร่ผลงานให้นักเรียนทั้งโรงเรียนได้มีโอกาสเรียนรู้และมีส่วนร่วมในการ
อนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น
๔.๔ นักเรียนร่วมกันสรุปผลงาน “ถอดบทเรียน”
ขั้นที่ ๕ คงอยู่ตลอดกาลเล่าขาน “เมืองขุนยวม”
๕.๑ นักเรียนแกนนำในโครงการจัดกิจกรรมเผยแพร่ความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่ได้ศึกษาเรียนรู้กับ
โรงเรียนในเครือข่าย
ขั้นประเมินผล สรุปและรายงาน Check / Act
๑) ประเมินผลการดำเนินกิจกรรม ปีการศึกษาละ ๑ ครั้ง โดยใช้แบบสอบถาม การสัมภาษณ์ และการนำเสนอผลงานเป็นเครื่องมือในการวัดและประเมินผลกิจรรม แล้วนำผลมาพัฒนาแก้ไข ปรับปรุง
๒) สรุปผลการดำเนินกิจกรรม รายงานผลต่อหน่วยงานต้นสังกัด และเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ต่อสาธารณชน
๕. ผลการดำเนินงาน/ผลสัมฤทธิ์ /ประโยชน์ที่ได้รับ
๕.๑ ผลที่เกิดตามวัตถุประสงค์
๑. นักเรียนร้อยละ ๑๐๐ ที่เข้าร่วมโครงการมีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับภูมิปัญญาท้องถิ่นในแต่ละด้าน สามารถบอกเล่าเกี่ยวกับภูมิปัญญาในท้องถิ่นของตนเองได้ อาทิ การประดิษฐ์จองพารา การต้องลายสังกะสี การตีกลองสะบัดชัย การตีกลองปู่เจ่ และสถาปัตยกรรมในท้องถิ่น เป็นต้น
๒. นักเรียนร้อยละ ๑๐๐ ที่เข้าร่วมโครงการมีตระหนักถึงความสำคัญของภูมิปัญญาท้องถิ่น สามารถบอกเล่าถึงความสำคัญเพื่อการดำรงอยู่ของภูมิปัญญาท้องถิ่นของตนเอง
๓. นักเรียนร้อยละ ๑๐๐ ที่เข้าร่วมโครงการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์สืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่นในด้านต่างๆ อย่างต่อเนื่อง
๔. นักเรียนร้อยละ ๑๐๐ ที่เข้าร่วมโครงการสามารถนำภูมิปัญญาท้องถิ่นนำไปปรับใช้ให้เกิดประโยชน์แก่ตนและส่วนรวม อาทิ การประดิษฐ์จองพาราด้วยตนเองเพื่อใช้ประกอบพิธีกรรมทางศาสนาตามประเพณีออกหว่า (ประเพณีทำบุญออกพรรษา) ในท้องถิ่น
๕.๒ ผลสัมฤทธิ์เรื่องงาน
๑. นักเรียนมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ๘ ประการ ,ค่านิยมหลักของคนไทย ๑๒ ประการ และมีความสามารถในด้านกีฬา ศิลปะ และดนตรี รวมทั้งมีความตระหนัก รักษ์สิ่งแวดล้อม และสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่น มีทักษะการทำงานเพื่อใช้ในการประกอบอาชีพในอนาคตได้
๖. ปัจจัยความสำเร็จ
๑. ความร่วมมือของผู้บริหาร คณะครู นักเรียน รวมถึงชุมชน ที่ร่วมกันสร้างทัศนคติที่ดีร่วมกันอนุรักษ์ สืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่น และสิ่งสำคัญคือมีความรักและหวงแหนในแผ่นดินเกิด
๒. ความเข้มแข็งของชุมชนที่สนับสนุนให้มีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์การพัฒนาระหว่างชุมชน สถานศึกษาเพื่อพัฒนาและส่งเสริมให้สถานศึกษาเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้แก่เยาวชน
๗. การเผยแพร่ / การได้รับการยอมรับ / และความภาคภูมิใจ
๗.๑ การเผยแพร่
๗.๑.๑ จัดนิทรรศการ เผยแพร่ผลงานทักษะงานทักษะชีวิต สมป.แม่ฮ่องสอน ณ โรงเรียนห้องสอนศึกษาในพระอุปถัมภ์ฯ
๗.๑.๒ จัดนิทรรศการเผยแพร่ผลงานโรงเรียนในฝัน ประจำปี ๒๕๕๘ ณ โรงเรียนอนุบาลขุนยวม
๗.๑.๓ เป็นวิทยากรในการเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมดนตรีพื้นบ้านให้แก่โรงเรียนเครือข่ายในอำเภอขุนยวม จังหวัดแม่ฮ่องสอน
๗.๑.๔ จัดทำข้อมูลเผยแพร่ผลงานด้านการอนุรักษ์สืบทอดดนตรีพื้นบ้านต่อสำนักงานวัฒนธรรม จังหวัดแม่ฮ่องสอน
๗.๑.๕ ได้รับเชิญร่วมแสดงศิลปวัฒนธรรมในงานชุมชน อาทิ ปอยหมั่งกะป่า ปอยจ่าตี่ งานเทศกาลรื่นเริงดอกบัวตองบาน เป็นต้น
๗.๑.๖ การเผยแพร่กิจกรรมและผลงานผ่านเว็บเพจ “ลูกอ่อนไต” ฮักในบ้านเกิด
๗.๒ การได้รับการยอมรับ/และความภาคภูมิใจ
๗.๒.๑ รางวัลเชิดชูเกียรติสถานศึกษาดีเด่น “ด้านการส่งเสริมดนตรีไทยและดนตรีพื้นบ้าน” ระดับจังหวัด จากกรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม ประจำปี ๒๕๕๙ โดยคัดเลือกผลงาน ๒ ย้อนหลัง และได้เป็นตัวแทนของจังหวัดแม่ฮ่องสอนไปแข่งต่อในระดับภาค
๗.๒.๒ รางวัลชนะเลิศการแข่งขันดรตรีพื้นบ้านล้านนา วงสะล้อ ซอ ซึง ของอำเภอขุนยวม ปีการศึกษา ๒๕๕๗
๘. ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ
การดำเนินกิจกรรมในแต่ละกิจกรรมต้องอาศัยเวลาในการลงมือปฏิบัติ เพื่อให้ได้ผลที่มีประสิทธิภาพ จากการดำเนินงานยังประสบปัญหาในด้านของเวลาที่มีระยะสั้นเกินไป และการเข้าลงพื้นที่ในชุมชนต้องอาศัยช่วงเวลาที่ชาวบ้านมีเวลาว่างจึงจะได้ข้อมูล ส่งผลให้การดำเนินงานค่อยข้างล่าช้าไปในบางขั้นตอน
๙. แนวทางการพัฒนาต่อเนื่อง
๙.๑ โรงเรียนมีนโยบายที่จะดำเนินกิจกรรมเพื่อดำเนินงานสนองนโยบายในการพัฒนานักเรียน ตามวิสัยทัศน์ พันธกิจของโรงเรียนและสนองวัตถุประสงค์ที่ ๖ เสริมสร้างศักยภาพของเด็กและเยาวชนในการอนุรักษ์และสืบทอดวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น (กพด.)
๙.๒ จัดทำแผนปฏิบัติการ/โครงการ ด้านการเรียนรู้ อนุรักษ์สืบทอดและเผยแพร่ภูมิปัญญาท้องถิ่น ในทุกๆ ปีการศึกษา
๙.๓ พัฒนาให้โรงเรียนสามารถเป็นแหล่งเรียนรู้ด้านภูมิปัญญาท้องถิ่นแก่ชุมชนและโรงเรียนเครือข่ายในจังหวัดแม่ฮ่องสอน รวมทั้งพัฒนาให้นักเรียนนำทักษะด้านภูมิปัญญาท้องถิ่นไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้ เช่น ประกอบอาชีพ เป็นต้น
๙.๔ โรงเรียนขุนยวมวิทยามีศูนย์การเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่พร้อมในการอำนวยในการศึกษาเรียนรู้วัฒนธรรมและภูมิปัญญาในท้องถิ่น และต้องพัฒนาศูนย์การเรียนรู้ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
๑๐. เอกสารอ้างอิง
๑๐.๑ แผนพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดารตามพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี ฉบับที่ ๔ พ.ศ. ๒๕๕๐ – ๒๕๕๙
๑๐.๒ แผนปฏิบัติการโครงการอนุรักษ์สืบทอดและเผยแพร่ภูมิปัญญาท้องถิ่น ในทุกๆ ปีการศึกษา
๑๐.๓ เอกสารเสนอผลงานสถานศึกษาดีเด่น “ด้านการส่งเสริมดนตรีไทยและดนตรีพื้นบ้าน” จากกรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม ประจำปี ๒๕๕๙
๑๐.๔ วารสาร “ดอยสน” การประชาสัมพันธ์ข่าวสารและกิจกรรมของโรงเรียนในทุกๆ ปีการศึกษา
ภาพกิจกรรมการดำเนินงาน
กิจกรรมกลุ่มการลงพื้นที่ศึกษาเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น ณ บ้านต่อแพ ตำบลแม่เงา
ด้านการต้องลายกับพ่อครูณัฐพล สุวรรณสังข์
กิจกรรมกลุ่มการลงพื้นที่ศึกษาเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น ณ บ้านเมืองปอน ตำบลเมืองปอน
ด้านการทำจองพารากับพ่อครูแหลงคำ คงมณี
กิจกรรมกลุ่มการลงพื้นที่ศึกษาเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น ณ บ้านขุนยวม ตำบลขุนยวม
ด้านการตีกลองและดนตรีพื้นบ้านกับพ่อจอซิยะ อุประ
กิจกรรมการเผยแพร่ภูมิปัญญาท้องถิ่นสู่โรงเรียนเครือข่าย
ณ โรงเรียนบ้านหนองแห้ง ตำบลเมืองปอน อำเภอขุนยวม จังหวัดแม่ฮ่องสอน
กิจกรรมร่วมกับชุมชนทำจองพาราประดับเขาวงกตในงานปอยหมั่งกะป่า
ณ วัดม่วยต่อ ตำบลยวม อำเภอขุนยวม จังหวัดแม่ฮ่องสอน
รางวัลเชิดชูเกียรติสถานศึกษาดีเด่น “ด้านการส่งเสริมดนตรีไทยและดนตรีพื้นบ้าน” ระดับจังหวัด จากกรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม ประจำปี ๒๕๕๙